มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

Main Article Content

จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ

บทคัดย่อ

มรดกทางวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ความเป็นชนชาติที่มีความผูกพันเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ ทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยจำแนกออกได้เป็นหลากหลายรูปแบบ ทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น องค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ หรือภูมิปัญญาไทย การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชนท้องถิ่นอันควรส่งเสริม อนุรักษ์ และคุ้มครองไว้เป็นมรดกตกทอดยังชนรุ่นหลังต่อไป


จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เป็นกฎหมาย ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสาร ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เอกสารการประชุมอบรม รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญกับการแสดงออกซึ่งศิลปธรรมวัฒนธรรมพื้นบ้านในเขตพื้นที่ภาคใต้ วิเคราะห์เพื่อหามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม  การอนุรักษ์  และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม  นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมประเภทหนังตะลุง ผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมประเภทมโนราห์ รวมถึงประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม


ผลการวิเคราะห์พบว่า มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม การอนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นรูปแบบโดยทั่วไปและรูปแบบที่มีสภาพบังคับเด็ดขาด แต่จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีลักษณะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นรูปแบบทั่วไป แต่ไม่ปรากฏมาตรการบังคับเด็ดขาดในการส่งเสริม อนุรักษ์ หรือคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ อาจจัดกลุ่มกฎหมายได้เป็น 3  กลุ่มใหญ่ๆ  คือ 1) การกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  2) การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมเฉพาะเรื่อง และ 3) การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมเฉพาะอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดภาระหน้าที่และบทบาทผ่านกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสภาองค์กรชุมชนตำบล แต่กฎหมายมีลักษณะเป็นการส่งเสริมซึ่งขาดสภาพบังคับที่ชัดเจน ทำให้มาตรการทางกฎหมายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผู้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้านและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในชุมชุมท้องถิ่นมีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม อนุรักษ์ และคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น


การวิจัยจึงเสนอแนะให้ชุมชนท้องถิ่นที่มีมรดกทางวัฒนธรรมและการแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านจัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลตามพระราชบัญญัติองค์กรชนชน พ.ศ. 2551 แล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีพื้นที่ในชุมชุมท้องถิ่นนั้นสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบลหรือด้านอื่น โดยการตกลงระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์กรมหาชน) เพื่อให้การส่งเสริม อนุรักษ์ และการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ ควรพจน์. สิทธิบัตร แนวความคิดและบทวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สำนักนิติธรรม. 2544.
เจริญ คัมภีรภาพ. สารัตถะแห่งสิทธิชุมชน : หลักการและความเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิชุมชนใน
ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น.กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายสิทธิภูมิ
ปัญญาไทย.

บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และเจษฎ์ โทณะวณิก. กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อการคุ้มครองภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, กระทรวงสาธารณสุข. 2547.

สุนทร ลิ้มวรรณเสถียร. ( 2543). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น.
หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

จีรวรรณ ศรีหนูสุด. (2553). ศิลปะการแสดงโนรากับการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน: บทเรียนจาก
บ้านเกาะประดู่หมู่ที่ 2 ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาอนุรักษ์ อภิรกฺโข (เจ้ยทอง). (2550). หนังตะลุงกับการเผยแผ่ธรรมแก่ประชาชน: กรณี
หนังตะลุงคณะสุรเชษฏ์ บันเทิงศิลป์ จ. นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วุฒินันท์ เตมีศรีสุข. (2542). แนวทางการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายแก่ศิลปวัฒนธรรม
พื้นบ้านในด้านทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและ
ส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม.

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ. (2555). การบรรยาย: การปกป้องมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่น.

พิทยา บุษรารัตน์ และคณะ. (2551). การพัฒนาหนังตะลุงและโนราในฐานะสื่อพื้นบ้านบริเวณลุ่ม
น้ำทะเลสาบสงขลา (รายงานการวิจัย)

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พ.ศ. 2522.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร. พ.ศ.2528

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542

สารสนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2548). ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2555. จาก
http://poompanyapaktai.freevar.com.

ลิขสิทธิ์. (2555). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม – Intangible Cultural Heritage. สืบค้นเมื่อ 24
ธันวาคม 2555. จาก http://ich.culture.go.th.

ศรัณยา สินสมรส. (2546). บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของสื่อพื้นบ้านลิเกฮูลูที่มีต่อชุมชนในสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2555. จาก http://web.yru.ac.th.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2555). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 27
ธันวาคม 2555. จาก http://www.thaiwisdom.org.

สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2555. จาก
http://poompanyapaktai.freevar.com.