กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศสิงคโปร์ : ข้อสังเกตเปรียบเทียบกับประเทศไทย (ตอนที่ 2)

Main Article Content

ปพนธีร์ ธีระพันธ์

บทคัดย่อ

การพิจารณาคดีในศาลเยาวชนของประเทศสิงคโปร์และศาลเยาวชนและครอบครัวของประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ ทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริงในขั้นตอนการจับกุม การยึดถือข้อเท็จจริงส่วนตัวของผู้กระทำความผิดเป็นประเด็นสำคัญใน  การพิจารณาพิพากษา การแยกสถานที่ในการพิจารณาคดีและห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง  กับคดีเข้าฟังการพิจารณา ซึ่งหลักการทั้งหมดนี้ล้วนมุ่งคุ้มครองประโยชน์สูงสุด และการรักษาสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดี     ในศาลเยาวชนและครอบครัวยังประสบปัญหาบางประการ ดั่งกรณี การกำหนดโทษปรับให้เด็กหรือเยาวชนผู้กระทำความผิดต้องชำระ และการใช้คำบางคำซึ่งอาจเป็นหนึ่งในการสร้างตราบาปและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมของ เด็กและเยาวชน


จากการศึกษาพบว่า ในประเทศสิงคโปร์นั้น การชำระค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือราคาสิ่งของแทนเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้บุคคลผู้ใกล้ชิดสามารถรับผิดชอบต่อความผิด และความเสียหายที่เกิดขึ้นได้โดยตรง และสะท้อนถึงตัวผู้ชำระเงินที่แท้จริง นอกจากนี้ ในการพิพากษาของศาลเยาวชนในประเทศสิงคโปร์ยังห้ามใช้ถ้อยคำว่า พิพากษาว่ามีความผิด และโทษ  ไว้อันจะทำให้ลดผลกระทบต่อความรู้สึก สภาพจิตใจ และสร้างโอกาสในการกระทำความผิด  ซ้ำอีกด้วย


บทความนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรกำหนดให้บิดามารดา ผู้ปกครอง เข้ามารับผิดชอบหากเกิดการลงโทษปรับ การชดใช้ค่าเสียหาย หรือราคาสิ่งของ และควรกำหนดห้ามใช้ถ้อยคำอันอาจส่งผลต่อความรู้สึก สภาพจิตใจ และสร้างโอกาสในการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ปพนธีร์ ธีระพันธ์, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปพนธีร์ ธีระพันธ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

References

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2547.

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.

ประมวลกฎหมายอาญา

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553.

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. คู่มือปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. เรื่อง การตรวจสอบการจับ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, ม.ป.ป.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศาลฎีกา. “คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13533/ 2558.” http://deka.supremecourt.or.th/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561).

สมชัย ฑีฆาอุตมากร. พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง, 2555.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. “เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่…) พ.ศ… วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ” กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2557.

Anuradha Saibaba. Juvenile Justice: Critically Juxtaposing the Models in India and Singapore. Singapore: Asian Law Institute, 2012.

Children and Young Persons Act.

Chomil Kamal. Directions of Juvenile Justice Reforms in Singapore. UNAFEI Annual Report for 2000 and Resource Material Series No. 59, 2002.

John Winterdyk. Juvenile Justice Systems: International Perspectives. 2nd Edition. Toronto: Canadian Scholars’ Press Inc, 2002.