แนวทางการใช้มาตรการป้องกันอาชญากรรมอันเนื่องมาจากสิ่งเทียมอาวุธปืน

Main Article Content

พิไลวรรณ สถิตย์

บทคัดย่อ

             


               ปัจจุบันพบว่า สิ่งเทียมอาวุธปืนถูกใช้ในการประกอบอาชญากรรมอย่างร้ายแรงถึงขั้นนำไปปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ชิงทรัพย์ หรือข่มขู่เพื่อที่จะข่มขืนหรือกระทำความผิดอื่น ๆ เนื่องจากมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับอาวุธปืน


               กรณีสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น เมื่อได้ทำการวิจัยจึงพบว่า พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 ถือว่า สิ่งเทียมอาวุธปืนมิใช่สิ่งผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้ถูกจัดว่าเป็น อาวุธปืน ตามนิยาม ของกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้มีการนำมาก่ออาชญากรรมจำนวนมากขึ้น เพราะ การมี พกพา การใช้ในการก่ออาชญากรรมนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นความผิด


              ผู้วิจัยเห็นว่า การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ด้วยการแก้ไขกฎหมายเป็นการเฉพาะ เพื่อประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมอันเกิดจากสิ่งเทียมอาวุธปืน   ให้ชัดเจนเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลดน้อยลงหรือให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นรังสรรค์ ศิลป์ประกอบ. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืน.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554.

พรชัย สุนทรพันธุ์. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2558.

พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. “โจรกรุงควงปืนปลอมปล้นร้านเสริมสวย.” มติชน, 29 พฤษภาคม 2539.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. “พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่7) พ.ศ. 2522.” http://web .krisdika.go.th/lawChar.jsphead=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id= 2&group=%CD &lawCode=%CD09 (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562).

สุชาดา ศรีใหม่. “หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา เปรียบเทียบพุทธวินัยบัญญัติ.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี, 8, ฉ.2 (2559). 89-118.

อภินพ สุวรรณรัตน์. “กฎหมายควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

The national Archives (n.d.). firearms Act 1968 Sectien 57(d).

The national Archives (n.d.). The firearms (Dangerous Air Weapons) Rules 1969 rule 2(1).