การนำหลักอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนของนิสิต วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
อิทธิบาท, การประยุกต์, การเรียนของนิสิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำหลักอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี ซึ่งยังขาดหลักอิทธิบาทธรรมในการเรียน โดยใช้ แบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
ผลการศึกษา พบว่า การนำหลักอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนของนิสิต โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้งเพศชายและเพศหญิง พบว่าด้านฉันทะมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านจิตตะ และวิมังสาอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านวิริยะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ผู้วิจัยเห็นว่า ควรสนับสนุนส่งเสริมให้นำหลักอิทธิบาทไปประยุกต์ใช้ในการเรียนของนิสิตวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี ประการแรก ควรนำหลักพุทธลีลาในการสอน 4 ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงใช้สั่งสอนพุทธบริษัทไปสนับสนุนส่งเสริมนิสิต เพื่อต้องการให้นิสิตเกิดความพอใจ ความต้องการที่จะเรียน ใฝ่ใจรักจะเรียนอยู่เสมอ และปรารถนาจะเรียนให้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ประการที่สอง ให้ขยันหมั่นประกอบการเรียนด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย ประการที่สาม ตั้งจิตรับรู้ในการเรียนด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจ ให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป ประการสุดท้าย หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในการเรียนนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง
References
กัญก์วฬาภรณ์ กลิ่นนิ่มนวล. “ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานจังหวัดพิษณุโลกตามหลักอิทธิบาท 4”. ปริญญานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการคณะสงฆ์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.
บุญมี บุญเอี่ยม. “การศึกษาการนำอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการทำงานของพนักงานการควบคุมการบินภูเก็ตบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด”. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาสารคาม, 2548.
พันตรี ป.หลงสมบุญ. พจนานุกรม มคธ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธรรมกาย, 2557.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9, ราชบัณฑิต). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2550.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม). พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, 2548.
พระธรรมปฏิก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2552.
พระมหาสมคิด โครธา. “การใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2547.
ไพฑูรย์ สินลารันต์. ความรู้คู่คุณธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
ไพบูลย์ ตั้งใจ. “ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษาบริษัท แอมพาสอินดัสตรี จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. ปริญญานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. “ประวัติมหาวิทยาลัย.” https://www.mcu.ac.th/ site/history.php#hist01 (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562).
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 84 ง (3 เมษายน 2562): 71.
เสกสันต์ บุญยะ. “การใช้อิทธิบาท 4 ในการบริหารบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมขนาดเล็กแผนกสามัญศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4”. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น