ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน : ศึกษาทางปฏิบัติของตุลาการไทย

ผู้แต่ง

  • สิรีธร ราชเดิม

คำสำคัญ:

กฎหมายระหว่างประเทศในศาลภายใน, ทางปฏิบัติตุลาการ, ทฤษฎีทวินิยม, กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ, สนธิสัญญา

บทคัดย่อ

รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และไม่อาจอ้างความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายภายใน เพื่อเป็นข้อยกเว้นพันธกรณีระหว่างประเทศได้ มิฉะนั้นย่อมนำ มาสู่ความรับผิดชอบของรัฐในทางระหว่างประเทศ หน้าที่ดังกล่าวย่อมผูกพันฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นองค์กรภายในของรัฐด้วย บทความนี้จึงมุ่งศึกษาทางปฏิบัติของฝ่ายตุลาการไทย    ในการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศในระบบกฎหมายไทยที่ไม่อาจปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้ โดยเฉพาะกรณีการปรับใช้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและสนธิสัญญา

ผลการศึกษาพบว่า ฝ่ายตุลาการไทยปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศตามทฤษฎีทวินิยมอย่างเคร่งครัด โดยการปรับใช้กฎหมายไทย อันไม่คำนึงถึงพันธกรณีระหว่างประเทศ ทว่าฝ่ายตุลาการของประเทศที่ศึกษาซึ่ง ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และแคนาดา ไม่ยึดถือทฤษฎีเอกนิยม หรือทวินิยม ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งอย่างเคร่งครัด แต่จะปรับใช้กฎหมายในระบบกฎหมายภายในอย่างสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ไม่ว่าโดยการบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแก่คดีโดยตรง หรือการใช้สนธิสัญญาเป็นเครื่องมือในการตีความกฎหมายภายใน  

ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะ ดังนี้ ประการแรก ควรตีความรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 188 วรรคหนึ่ง ให้คำว่า “กฎหมาย” หมายความถึง กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศด้วย ประการที่สอง คือ ประเทศไทยควรบัญญัติอย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญให้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายไทย เพื่อให้ฝ่ายตุลาการมีความชอบธรรมที่จะบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแก่คดีโดยตรง ประการที่สาม ฝ่ายตุลาการไทยควรใช้และตีความกฎหมายภายในอย่างสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ

References

กฎหมายพื้นฐานของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักการพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

คำตัดสินของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในคดี Ratiani v. Georgia, CCPR/C/84/D/975/2001.

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 2965/2538

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง หมายเลขแดงที่ 607-608/2549

คำพิพากษาศาลปกครองกลาง หมายเลขแดงที่ ส.660/2559

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2555

คำสั่งของศาลชั้นต้น คดีหมายเลขแดงที่ 12083/2526

จตุรนต์ ถิระวัฒน์. กฎหมายระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

นพนิธิ สุริยะ. Lecture Notes กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2559.

ประสิทธิ เอกบุตร. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1 สนธิสัญญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2551.

พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต พ.ศ. 2527. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 1 ตอนที่ 131 (ฉบับพิเศษ) (26 กันยายน 2527).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ค.ศ. 1996

สมยศ เชื้อไทย. หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2551.

A Comparative Study. ed. David Sloss. New York: Cambridge University Press, 2009.

Anthony Aust. Modern Treaty Law and Practice. 2nd Edition. New York: Cambridge University Press, 2007.

Anthony A. D’Amato. The Concept of Custom in International Law. London: Cornell University Press, 1971.

D. Carreau. Droit International Public. Paris: Pedone, 1986. อ้างใน จตุรนต์ ถิระวัฒน์, กฎหมายระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

Davíd Thór Björgvinsson. The Intersection of International Law and Domestic Law. Massachusetts: Edward Elgar, 2015.

D.P.O’ Connell. International Law. London: Stevens & Sons Limited, 1970.

Draft Articles on Responsibility of States for Internationally Wrongful Acts

Gerald Fitzmaurice. “The General Principles of International Law Considered from the Standpoint of the Rule of Law.”
Hague Recueil 92 (1957).

Hans Kelsen. Principles of General Theory of Law and State. New Jersey: The Lawbook Exchange, 2007.

Hersch Lauterpacht. International Law and Human Rights. London: Stevens & Sons, 1950.

Heinrich Triepel. “Les rapports entre le droit interne et le droit internatio nal.” Recueil des Cours 1, no. 1 (1923).

Ian Brownlie. Principles of Public International Law. 7th Edition. New York: Oxford University Press, 2008.

International Covenant on Civil and Political Rights

Lassa Oppenheims. International Law A Treatise Vol.1 Peace. Second Edition. London: Longmans Green and Co., 1912.

Michael P. Van Alstine. The Role of Domestic Courts in Treaty Enforcement: A Comparative Study. Edited by David Sloss. New York: Cambridge University Press, 2009.

North Sea Continental Shelf Case, I.C.J. 1969

R & Hape. The Exchange of Greek and Turkish Populations. PCIJ Ser. B, No.10. Advisory Opinion. (2007).

Statute of the International Court of Justice

The Vienna Convention on the Law of Treaties of 1969

United Nations. “Draft articles on Responsibility of States for Internationally Wrongful Acts, with commentaries 2001.” https://legal.un.org/ilc/ texts/instruments/english/commentaries/9_6_2001.pdf. (accessed April 8, 2017).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/28/2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย