สิทธิของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องกับการสืบพยาน

ผู้แต่ง

  • เกียรติยศ ศักดิ์แสง สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

จำเลย, สืบพยาน, ไต่สวนมูลฟ้อง

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง สิทธิของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องกับการสืบพยาน ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ศึกษาสิทธิของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องกับการสืบพยานและปัญหาสิทธิของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องกับการสืบพยาน

ผลกระทบจากการศึกษาพบว่า หลังจากเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาปี พ.ศ. 2562 ในส่วนเกี่ยวกับไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย มีสิทธิถามพยานศาลเมื่อศาลอนุญาต มีสิทธิเด็ดขาดและไม่เด็ดขาด           ในอันที่จะมีทนายความหากจำเลยมาศาล และให้อำนาจศาลคุ้มครองสิทธิจำเลยโดยการเรียกพยานมาสืบเป็นพยานศาลและคำสั่งมีมูลต้องมีข้อเท็จจริงและเหตุผลประกอบตามสมควร แต่ก็ยังพบปัญหา ในกรณีจำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง สิทธิแถลงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายของจำเลยยังไม่ครอบคลุม พบผลกระทบต่อการใช้อำนาจสืบพยานเพิ่มเติมโดยพลการของศาล กระทบสิทธิของผู้เสียหายและพยานในคดีอาญา   

ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีหลักการ 1) ควรกำหนดให้อำนาจจำเลยสืบพยานสำคัญเกี่ยวข้องกับประเด็นมีมูล และความไม่สุจริตของโจทก์เฉพาะในคดีที่มีอัตราโทษสูงหรืออาญาร้ายแรงและจำเลยมาศาล 2) ควรกำหนดให้จำเลยมีสิทธิแถลงถึงข้อเท็จจริงความไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงของฟ้องโจทก์ 3) ควรกำหนดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มาตรา 165/2 วรรคหนึ่ง ไม่ตัดอำนาจศาลในอันที่จะใช้อำนาจสืบพยานเพิ่มเติมโดยพลการตามมาตรา 228 และ 4) ควรกำหนดมาตรการป้องกันมิให้จำเลยใช้สิทธิไปในทางประวิงคดี และป้องกันการคุกคามพยานด้วยการนำพยานชุดเดิมมาสืบพยานซ้ำซาก  

Author Biography

เกียรติยศ ศักดิ์แสง, สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์

นายเกียรติยศ ศักดิ์แสง อัยการประจำกอง สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุรินทร์

References

คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

คำพิพากษาฎีกาที่ 2151/2448

คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2502

คำพิพากษาฎีกาที่ 904/2522

คำพิพากษาฎีกาที่ 1872/2527

คำพิพากษาฎีกาที่ 2482/2527

คำพิพากษาฎีกาที่ 3123/2533

คำพิพากษาฎีกาที่ 6951/2540

คำพิพากษาฎีกาที่ 7399/2544

คำพิพากษาฎีกาที่ 96-97/2545

คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2546

คำพิพากษาฎีกาที่ 7737/2552

คำพิพากษาฎีกาที่ 3965/2553

ชนกกานต์ อ้วนไตร. “หลักตรวจสอบค้นหาความจริง : ศึกษากรณีไต่สวนมูลฟ้องอันเป็นเครื่องมือในการประทับฟ้องคดีของรัฐ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาตรีนิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2560.

ธานิศ เกศวพิทักษ์, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศักษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2551.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 (20 มิถุนายน 2478): 723.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 (10 มิถุนายน 2478): 598.

พระราชบัญญัติลักษณะพยาน ร.ศ.113.รก.รศ.113 เล่มที่ 11 ตอนที่ 47 (22 มกราคม ร.ศ. 113).

พระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับให้โจทก์สาบานก่อนฟ้องความอาชญา ร.ศ.111.

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ.115, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 13 ตอนที่ 5/3 (พฤษภาคม ร.ศ.115).

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 (10 มิถุนายน 2478): 598.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก (11 ตุลาคม 2540).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก (24 สิงหาคม 2550).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560).

แอล ดู ปลาตร์ และวิจิตร์ ลุลิตานนท์. คำสอนขั้นตอนปริญญาตรี พ.ศ.2477 กฎหมายลักษณะพยานและจิตตวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2477.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/28/2019

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ