ข้อสังเกตเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณรัตน์ โสธรประภากร
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิจบดี ก้องเบญจภุช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบความหมายที่แท้จริงของ “กฎหมายปกครอง” เนื่องจากพบหนังสือ “ประมวลกฎหมายปกครอง” “รวมกฎหมายปกครอง” ที่วางขายทั่วไปและมีไว้ค้นคว้าในห้องสมุดจำนวนหนึ่ง ซึ่งเนื้อหาเป็นการรวบรวมพระราชบัญญัติต่าง ๆ หรือบางเล่มได้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เข้ามารวบรวมไว้ด้วย ทำให้ผู้ศึกษากฎหมายเข้าใจว่าพระราชบัญญัติและกฎที่นำมารวบรวมไว้นั้นเป็นกฎหมายปกครอง ซึ่งการจะเรียกกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับว่าเป็น “กฎหมายปกครอง” เป็นการไม่ถูกต้อง


กฎหมายไทยที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่ในชื่อ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประกาศหรือคำสั่งของคณะทหารที่ทำการรัฐประหารยึดอำนาจในการปกครองได้สำเร็จ และประมวลกฎหมาย ส่วนพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติท้องถิ่นและบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปมิได้มุ่งหมายแก่บุคคลใดโดยเฉพาะ เป็น “กฎ”


ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจว่ากฎหมายปกครองไม่ใช่ชื่อกฎหมาย แต่เป็นชื่อวิชาเรียนกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจปกครองซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ มีกฎหมายไม่ว่าจะอยู่ในชื่อใดบัญญัติให้อำนาจหน้าที่แก่ผู้ใช้อำนาจ คือ หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจปกครองและเจ้าหน้าที่ และผู้ใช้อำนาจจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ จึงใช้อำนาจปกครอง    ในการออกกฎ การออกคำสั่งทางปกครอง การกระทำทางปกครอง และสัญญาทางปกครอง เพื่อให้บรรลุตามหน้าที่และเจตนารมณ์ของกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 2 รัชกาลที่ 4 - พ.ศ. 2475. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2525.

กิจบดี ก้องเบญจภุช. หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รามคำแหง, 2561.

เขมภูมิ ภูมิถาวร. กฎหมายประทุษร้ายส่วนแพ่ง รวมคำพิพากษาฎีกาของพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ราชบุรีดิเรกฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์, 2548.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496

ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำบรรยายกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2548.

พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย. หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา, 2544.

พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติธรรมนูญแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา พ.ศ. 2477

ร. แลงกาต์. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย 2 มูลนิธิโครงการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2526.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475

ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 89 ตอนที่ 182 (29 พฤศจิกายน 2515): 1.

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 10 เมษายน รศ. 110.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 94 ก (10 ตุลาคม 2542): 1.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 100 ก (7 ตุลาคม 2560): 1.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560): 1.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 176 ง (4 กรกฎาคม 2560): 176.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 151 ง (12 มิถุนายน 2562): 1.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 (10 มิถุนายน 2478): 1.

สถาบันปรีดี พนมยงค์. กฎหมายตรา 3 ดวง เล่ม 1 ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรังปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุขกายใจ, 2548.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

สมหมาย จันทร์เรือง. ระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2552.

หลวงประจักษ์ ปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ อ้างโดยแสวง บุญเฉลิมวิภาส. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2552.