แรงจูงใจในการเข้าศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8

ผู้แต่ง

  • มารุต คำเล็ก ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, นักเรียนนายสิบตำรวจ, ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการตัดสินใจต่อการเข้าศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 และเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลต่อแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดความต้องการศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 ซึ่งเกิดจากการมีจำนวนยอดผู้สมัครลดลงอย่างชัดเจนในแต่ละปี

           ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นของนักเรียนนายสิบตำรวจเกี่ยวกับแรงจูงใจต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านลักษณะงานมากที่สุด รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจและด้านเหตุผลส่วนตัวอยู่ในระดับมากตามลำดับ การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเข้าศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 พบว่า อายุ ภูมิลำเนา ศาสนา คุณวุฒิการศึกษา ผู้สนับสนุนค่าเล่าเรียนค่าใช้จ่าย แตกต่างกันมีผลให้แรงจูงใจในการเข้าศึกษาในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 ไม่แตกต่างกัน

            ผู้วิจัยเห็นว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างความเข้าใจให้บุคคลทั่วไปทราบว่าตำรวจเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ รักษาความยุติธรรมในสังคม มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ต้องเสียสละ ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในขณะเรียน จบแล้วประกอบอาชีพได้ทันที มีสวัสดิการ บำเหน็จบำนาญหลังเกษียณ มีโอกาสศึกษาต่อเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้องของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 ควรวางแผนประชาสัมพันธ์ แนะแนว เชิญชวนให้ผู้เรียนและบุคคลทั่วไปรู้จัก ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 มากขึ้น และเลือกเข้าเรียนในศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8 มากยิ่งขึ้น

References

กองการสอบ. สรุปยอดผู้สมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) พ.ศ.2561 จำนวน 5,200 อัตรา.http://rcm.edupol.org/AdmissionDivision/index.php/2018/11/09/09-11-2561 (สืบค้นเมื่อ 30ตุลาคม 2562).
กองบัญชาการศึกษา. หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ. http://www.edupol.org/eduOrganize/eLearning/squadLeader/const/2017/12/01.pdf (สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562).

จุฑามาศ ชูจินดา, กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล และณภัทร โชคธนินกุล. แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์,2555.

ถวิล เกื้อกูลวงศ์. การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ ทฤษฎี วิจัยและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :วัฒนาพานิช, 2530.

ธัชพล พึ่งสุข. “แรงจูงใจของนักเรียนพลตำรวจต่อการศึกษาในโรงเรียนตำรวจนครบาล.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2539.

ธันวา เพ็งคำ. แรงจูงใจของนักเรียนพลตำรวจต่อการเข้าศึกษาในโรงเรียนตำรวจภูธร 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม,มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.

ปราณี อ่อนศรี. “การเปรียบเทียบและติดตามระดับแรงจูงใจของนักเรียนพยาบาลต่อการเข้าเรียนที่วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก.” เวชสารแพทย์ทหารบก 65, ฉ.3 (2555): 167.

ปรุง บุญผดุง. (2525). “แรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์, 2525.

เปรมชัย สโรพล. “แรงจูงใจในการศึกต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าของนักเรียนเตรียมทหาร.” วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการศึกษา (การอุดมศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2541.

ศิรินภา ศรีโคกล่าม. “แรงจูงใจในการศึกษาต่อสถาบันการพลศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1ในเขตภาคกลาง ปีการศึกษา 2555.” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555.

ศิริพร แซ่โค้ว. “แรงจูงใจของนักศึกษาที่ตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันการบินพลเรือน.”วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการวิจัยศึกษา,มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.

ศิริวรรณ ทุมเชื้อ และ ปัทมา ผาติภัทรกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิชาชีพ : กรณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ปีการศึกษา 2550. (รายงานการวิจัย). สระบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี , 2551.

ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8. รายงานประเมินตนเอง (Self Assessment Report) ประจำปี 2562. สุราษฎร์ธานี : ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 8, 2562.

สถาพร กลางคาร. “แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ประจำปี 2556.” วารสารพยาบาลตำรวจ 7, ฉ.2 (2558): 215.

สมรรถชัย ณ พัทลุง. “แรงจูงใจของทหารกองประจำการในสังกัดกองพลทหารม้าที่ 2รักษาพระองค์ในการรับราชการทหาร.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549.

สุพรพรรณ อรุณส่องแสงดี. “แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยตำรวจของนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง.” ค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

สุรเชษฐ์ สืบวิสัย. “แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้ารับราชการของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ไม่ได้จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัฑิต,สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547.

สารานุกรมเสรี. “แรงจูงใจ.” https://th.wikipedia.org/wiki/แรงจูงใจ. (สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562).

อารีย์กุล รื่นเริง. “แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการ สังกัดกรมกำลังพลทหารเรือ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปกร, 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/22/2020