ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แก้ไขใหม่ในส่วนของการกำกับดูแลภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ มณีนุช -

คำสำคัญ:

การกำกับดูแล, การบังคับบัญชา, การปกครองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 จำนวน 5 ฉบับ[1] เพื่อศึกษาทิศทางการใช้อำนาจกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

            จากการศึกษาพบว่า กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 ได้เพิ่มอำนาจให้ราชการส่วนภูมิภาคมีอำนาจกำกับดูแลเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งเรื่องการสั่งให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหยุดปฏิบัติหน้าที่ การประกาศคำวินิจฉัยเมื่อผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง และลดปัญหาเงื่อนเวลาในการใช้อำนาจ ซึ่งจะทำให้ควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมได้มากขึ้น แต่การเพิ่มอำนาจดังกล่าวอาจส่งผลให้ผู้บริหารท้องถิ่น มีความเกรงกลัวอำนาจของผู้กำกับดูแลตามกฎหมาย และอาจนำไปสู่การใช้อำนาจโดย    มิชอบของผู้กำกับดูแลได้ในที่สุด

            ผู้เขียนเห็นว่า ทิศทางการกระจายอำนาจตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม มีลักษณะเพิ่มอำนาจให้แก่ราชการส่วนภูมิภาคตามหลักการรวมอำนาจปกครอง มิได้เป็นไปตามหลักการกระจายอำนาจเท่าที่ควร รัฐควรวางมาตรการในการควบคุมการใช้อำนาจการกำกับดูแลให้เป็นไปเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพร้อมที่จะเข้าสู่   การกระจายอำนาจอย่างแท้จริง อันจะส่งผลให้สามารถธำรงไว้ซึ่งหลักพื้นฐานของรัฐประชาธิปไตยได้ในที่สุด

[1] พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. “ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. http://www.dla.go.th/work/abt/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562).

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, 2558.

โกวิทย์ พวงงาม.การปกครองท้องถิ่นไทย.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด,2559.

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. “ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย”.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.http://web.krisdika.go.th/activityDetail.jsp?actType=I&actCode=67&head=4&item=n5 (สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562)

ภัทรวดี ชินชนะ. “สมบูรณาญาสิทธิราชย์”.สถาบันพระปกเกล้า.http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0% (สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562)

มาโนช นามเดช.รายงานการวิจัย เรื่อง การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพ: บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด,2559.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,สาขาวิชานิติศาสตร์,กฎหมายปกครองชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ: สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2557.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. กฎหมายปกครองภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติราษฎร์,2554.

สมคิด เลิศไพฑูรย์.กฎหมายการปกครองท้องถิ่น.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา,2547.

อักขราทร จุฬารัตน. บทบาทใหม่ศาลปกครองไทยในการสัมมนาใหญ่ประจําปีครั้งที่ 1 พ.ศ. 2551.วารสารวิชาการศาลปกครอง 8 ฉ.1, 2552.

MASPETIOL Roland et LAROQUE Pierre, La tutelle administrative.Paris, Recueil Sirey,1930.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/22/2020