การรับรองสิทธิของคู่สมรสที่มีความผิดปกติในเซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองฝ่าย ในการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์, เซลล์สืบพันธุ์, คู่สมรส, สิทธิ, กฎหมายทางการ แพทย์บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้ ศึกษาเกี่ยวกับการรับรองสิทธิของคู่สมรสที่มีความผิดปกติในเซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองฝ่ายในการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ซึ่งปัญหา คือ กฎหมายได้ไปจำกัดสิทธิคู่สมรสบางคู่ที่มีปัญหาในเซลล์สืบพันธุ์ทั้งสามีและภริยา แม้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ปัจจุบันมีความก้าวหน้าสามารถช่วยลดปัญหาการมีบุตรยากสำหรับคู่สมรสที่มีความผิดปกติในเซลล์สืบพันธุ์ และไม่สามารถมีบุตรโดยวิธีตามธรรมชาติได้ แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงกรณีดังกล่าว จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดสถานะของบิดามารดาของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีนี้
จากการศึกษาพบว่า กฎหมายได้อนุญาตเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสมีความผิดปกติในเซลล์สืบพันธุ์ สามารถใช้เซลล์ไข่หรืออสุจิบริจาคอย่างใดอย่างหนึ่ง ร่วมกับเซลล์ไข่ หรืออสุจิของสามีหรือภริยา แต่ไม่สามารถใช้ทั้งเซลล์อสุจิ และเซลล์ไข่บริจาคได้ แม้ว่าจะมีความผิดปกติในเซลล์สืบพันธุ์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังสร้างปัญหาในการพิจารณาสถานะของบิดามารดากับเด็กที่เกิดมา ซึ่งความเป็นมารดาจะไม่ตกแก่หญิงผู้ประสงค์จะมีบุตรจากการตั้งครรภ์แทน แต่จะตกอยู่กับหญิงผู้รับตั้งครรภ์แทนกับสามีของหญิงนั้นตามหลักกฎหมายครอบครัว
ผู้เขียนขอเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 โดยเพิ่มเงื่อนไข ว่า “สามารถใช้อสุจิและไข่บริจาคได้” จะเป็นการช่วยลดปัญหาทางกฎหมายในการสถานะความเป็นบิดามารดาในกรณีดังกล่าวได้
References
กุลพล พลวัน. พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2538.
ชลธิชา สถิระพจน์ และ วิชาญ โชคธนะศิริ. จากพื้นฐานสู่ความก้าวหน้าของการรักษาภาวะมีบุตรยาก. รามาธิบดีเวชสาร, 2560.
ธานี วรภัทร และคณะ. ศึกษาและวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิตย์, 2561.
ประกาศแพทยสภาที่ 1/2540. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 123 ง.
ประกาศแพทยสภาที่ 21/2545. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 68 ง.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 104 ก.
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 38 ก
พิลาสินี โยงสมบัตร. วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.... กรุงเทพฯ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552
ไพโรจน์ กำพูสิริ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. อุ้มบุญ-อุ้มบาป พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 255, (ม.ป.ป.).
ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์. รายงานฉบับสมบูรณ์ มาตรการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 2555
ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอุ้มบุญ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2558.
อรรถกรณ์ อ้นอาจ. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความคุ้มครองสิทธแิ ละศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ : ศึกษากรณีเด็กที่เกิดโดย อาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.
เอื้องอารีย์ อิ้งจะนิล. รายงานสรุปและวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติคมุ้ ครองเด็กที่ เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์ พ.ศ..... กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า, 2558.
Hofheimer A. Gestational Surrogacy : Unsettling State Parentage Law and Surrogacy Policy. Newyork, 1992.
Goodwin A. Determination of Legal Parentage in Egg Donation, Embryo Transplantation, and Gestational Surrogacy Arrangement, Family Law Quarterly, Vol. 26, No. 3. 1992.
L Elster,N Andrew. Regulating Reproductive Technologies. J. Legal Med, 2000.
Sonia Allan. The Review of the Western Australian Human Reproductive Technology Act 1991 and the surrogacy act 2008 (Report Part 2), 2019.
Sara Rintamo. Regulation of Cross-Border Surrogacy In Light of the European Conversation on Human Rights. Helsinki: University of Helsinki, 2016.
Warnock M. A Question of Life. The Warnock Report on Human Fertilisation and Empryology, Basil Blackwell, 1985.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น