ปัญหาผู้เสียหายในการนำคดีอาญามาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
คำสำคัญ:
คำร้องทุกข์, ผู้เสียหาย, พนักงานสอบสวน, ดุลยพินิจบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาถึง ปัญหาผู้เสียหายนำคดีมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และใช้หลักดุลยพินิจที่ไม่ชอบ ด้วยการปฏิเสธไม่รับเรื่องร้องทุกข์ ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม
เมื่อทำการศึกษาพบว่า ครั้นผู้เสียหายได้นำข้อเท็จจริงร้องต่อพนักงานสอบสวนแล้ว กระบวนการต่อจากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบสวน สอบสวน และนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาปรับใช้กับข้อกฎหมาย ด้วยการใช้หลักดุลยพินิจตีความ ในขั้นตอนนี้ เพื่อนำมาเป็นเหตุประกอบว่าจะรับเป็นคดีอาญาหรือไม่ หากพนักงานสอบสวน ใช้หลักดุลยพินิจตีความตามกฎหมายโดยชอบ ก็จะเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย แต่ถ้าหากว่าใช้หลักดุลยพินิจที่เพ่งต่อการปฏิเสธสิทธิของผู้เสียหายเป็นเบื้องต้น ขาดการกลั่นกรองในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ย่อมส่งผลให้การรับเรื่องร้องทุกข์เกิดความไม่เป็นธรรม แก่ผู้เสียหาย
ดังนั้น สิ่งที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหายได้ในเบื้องต้น พนักงานสอบสวนควรต้องปราศจากอคติ โดยยึดหลักการเคารพต่อสิทธิผู้เสียหายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติในสถานะของบุคคล โดยใช้หลักดุลยพินิจให้เป็นธรรมและเสมอภาค หน่วยงานบังคับบัญชาจึงควรปลูกจิตสำนึกให้พนักงานสอบสวนเคารพในวิชาชีพที่ตนได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวเพื่อประโยชน์ของประชาชน ประกอบกับควรแก้ปัญหาจำนวนพนักงานสอบสวนที่มีน้อยและการขาดความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างถ่องแท้ หรือถูกโยกย้ายตำแหน่งมาจากสายปราบปรามที่ยังไม่ถนัดในการสอบสวน อีกทั้งควรพิจารณาผลตอบแทนที่ต่ำกว่าภาระงาน เป็นอาทิ ซึ่งเหตุเหล่านี้จะทำให้จินตภาพของพนักงานสอบสวนได้รับการยอมรับและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนต่อไป
References
คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: วิญญุชน, 2555.
คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2559.
คณิต ณ นคร. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.
เจริญ ธำรงเกียรติ. “การเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, วิชากฎหมายปกครองพิศดาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ม.ป.ป..
ณิธิศ รัตนชัย. สัมภาษณ์โดย พรอุมา วงศ์เจริญ. บ้านเลขที่นวมินทร์ 111 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร, 18 ธันวาคม 2562.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. “พนักงานสอบสวนห้อยคอ เครียดอีกศพ ร.ต.อ.งานเยอะสำนวนค้าง.” https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1683113 (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563).
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. “ความยุติธรรมในมุมมองของพุทธศาสตร์.” โครงการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย http://www. ps.mcu.ac.th/ ?p=141 (สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.
ภูภณัช รัตนชัย. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทชุมชน: กรณีศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รายงานการวิจัย) คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2558.
โรเจอร์ โลหนันทน์. “ทำไมแจ้งความที่โรงพักคดีถึงล่าช้า?.” https://www.posttoday. com/social/think/469766 (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562).
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. “การควบคุมการใช้ดุลพินิจทางปกครองโดยองค์กรตุลาการ” ในรวมบทความในโอกาสครบรอบ 60 ปี ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์.” กรุงเทพฯ: พีเค พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2531.
สิทธิกร ศักดิ์แสง. กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ: บริษัท ภีมปริ้นติ้ง แอนด์ ดีไซน์ จำกัด, 2561.
สุรพันธ์ บุญช่วย. “ปัญหาผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์.” ผลงานส่วนบุคคลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ 14, สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม, (2558).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น