แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าในวิชากฎหมายภาษีอากร 2
คำสำคัญ:
วิจัยในชั้นเรียน, นักศึกษากฎหมาย, ทฤษฎีการเรียนรู้, กระบวนการเรียนรู้, ทักษะการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดการเรียนรู้ในยุคใหม่ของนักศึกษา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในวิชากฎหมายภาษีอากร 2 ของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าโดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร วิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบกับการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์สมุดคำตอบการสอบปลายภาค ผลการทดสอบย่อยในชั้นเรียนและรายงานผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า การทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ เกิดทักษะความชำนาญจนส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การตัดสินใจและการกระทำนั้น ประกอบด้วยวิธีการอย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับแนวคิดหรือทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาปรับใช้ ในวิจัยฉบับนี้ได้เลือกศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom เฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์และการประเมินคุณค่า โดยนำมาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในวิชากฎหมายภาษีอากร 2 ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้วิจัยได้เสนอแนะกระบวนการและขั้นตอนการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่า โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วยกระบวนการหลักการสามขั้นตอนดังนี้ 1) การเตรียมการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยการจัดทำแผน การสอน การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดผลการเรียนรู้ 2) การดำเนินการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยการปฏิบัติตามแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบการวัดผลการเรียนรู้ และกำหนดเวลาวัดผล การเรียนรู้ และ 3) การสรุปผลและวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยการสรุปผลการเรียนรู้และการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอน
References
IGI Global. “What is Learning Process.” https://www.igi-global.com/dictionary/analyzing-farmers-learning-process-in-sustainable-development/16939 (accessed April 13, 2020).
Vanderbilt University. “Bloom’s Taxonomy.” https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy/ (accessed April 13, 2020).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น