การประยุกต์ใช้คำสอนของพุทธทาสภิกขุของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ ในชีวิตพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
คำสอนของพุทธทาสภิกขุ, การประยุกต์ใช้, ผู้ประสบความสำเร็จ, พื้นที่อ่าวบ้านดอน, จังหวัดสุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การประยุกต์ใช้คำสอนของพุทธทาสภิกขุของบุคคล ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต และข้อเสนอแนะการนำไปปฏิบัติ ในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผสมผสานเทคนิคการสะท้อนกลับจากผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต จำนวน 6 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้คำสอนของพุทธทาสภิกขุของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ เมื่อพิจารณาแต่ละบุคคล โสภณ รัตนากร ประยุกต์ใช้คำสอนกินข้าวจานแมว คิดนอกกรอบ ทำงานเพื่องาน และหลัก สุ จิ ปุ ลิ กฤษณา ไกรสินธุ์ ประยุกต์ใช้คำสอนการละความเป็นตัวตน การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ประมวล เพ็งจันทร์ ประยุกต์ใช้คำสอนตายเสียก่อนตาย และปณิธาน 3 ประการ การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ถนอม อินทรกำเนิด ประยุกต์ใช้คำสอนหลัก 3 ส สงบ สะอาด และสว่าง การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ทวีศักดิ์ สุขรัตน์ ประยุกต์ใช้คำสอนอิทัปปัจจตา โลกุตตรธรรม และปรมัตถสภาวธรรม สุดท้าย ชัยวัฒน์ วรรณานนท์ ประยุกต์ใช้คำสอนอยู่อย่างธรรมดา การทำดีคือดี ไม่ใช่ได้ดี ทำชั่วคือชั่ว
ข้อเสนอแนะการนำไปปฏิบัติ ส่วนใหญ่ต้องการให้นำคำสอนของพุทธทาสภิกขุมาพัฒนาการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา ใช้พื้นฐานของพระพุทธศาสนาเข้าไปในหลักสูตร ทำข้อมูลบุคคลต้นแบบหรือแบบอย่างผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตที่ได้ศึกษาเผยแพร่เชิงสาธารณะ จัดตั้งสถาบันพุทธทาสศึกษาจัดสถานที่ปฏิบัติธรรมในสถานที่ราชการสร้างหอสมุดเผยแพร่คำสอนของพุทธทาสภิกขุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ต่อระบบการศึกษาและประชาชนทั่วไป
References
จินตนา เฉลิมชัยกิจ. (2552). อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชาติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระดุษฎี เมธงฺกุโร. (2532). การพัฒนาสังคมในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ ปยุตฺโต).(2540). การศึกษาเพื่อสันติภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระปรียงค์ เมธิโน (อาภรณ์สุวรรณ) .(2554). การประยุกต์ใช้ความว่าง (สุญญตา) ในชีวิตประจำวัน. สารนิพนธ์พุทธศาสนาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวันชัย ธมฺมชโย (ช่วงสำโรง). (2548). กาศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความตาย ตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสง่า สุภโร (ณ ระนอง). (2536). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของพุทธทาสภิกขุเพื่อพัฒนาสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสวนทรา ธมฺมจารี (สุจารี). (2550). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิทยา ว่องกุล. (2549). พุทธทาส พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : สายธาร.
พุทธทาสภิกขุ (นามแฝง). (2531). การศึกษาคืออะไร (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : ธรรมบูชา.
______, (2547). ธรรมะกับการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.
______, (2549ก). เศรษฐศาสตร์พุทธศาสนา (พุทธทาสธรรม 11). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
______, (2549ข). อิทัปปัจจยตา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
______, (2549ค). คริสตธรรม และพุทธธรรม. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
______, (2549ง). คู่มือมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
แม่ชีศุกร์ภาวดี ณ พัทลุง. (2557). การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา กรณีศึกษาพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น