แนวทางการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • นาวาอากาศเอกประเมิน กาฬภักดี กองวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, ป่าชุมชน, ยั่งยืน, ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหากระบวนการจัดการป่าชุมชนของชุมชนต้นแบบบ้านคลองอาราง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วและวิเคราะห์หาปัจจัยความสำเร็จในการจัดการป่าชุมชนเพื่อนำไปกำหนดแนวทางใน  การจัดการทรัพยากรป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

ผลการศึกษาพบว่า การจัดการทรัพยากรป่าชุมชนที่สามารถจัดการได้อย่างยั่งยืน ต้องคำนึงถึงการได้ประโยชน์ที่สมดุลกันระหว่างป่ากับชุมชน มีการวางแผนจัดการโดยไม่แยกป่าออกจากชุมชน กิจกรรมที่ถูกกำหนดภายใต้กฎ ระเบียบ ตามมติของชุมชนต้องไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อผลประโยชน์ที่เคยได้รับจากทรัพยากรป่าชุมชน การดำเนินการ   ทุกอย่างจะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการทำลายป่าชุมชน นอกจากนี้ การสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชุมชนยังแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความเข้มแข็งของชุมชน

ดังนั้น เพื่อให้แนวทางการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนมองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม จึงกำหนดขั้นตอนการจัดการ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการป่าชุมชน การกำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ การสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ป่า  ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน การกำหนดกฎ ระเบียบและบทลงโทษที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน และการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเพาะพันธุ์กล้าไม้สำหรับปลูกเพิ่มหรือทดแทนในโอกาสต่าง ๆ

Author Biography

นาวาอากาศเอกประเมิน กาฬภักดี , กองวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

นาวาอากาศเอกประเมิน กาฬภักดี กองวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

References

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 21” http://saranukromthai.or.th/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561).

ประเมิน กาฬภักดี. แนวทางการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช, 2561.

ปวีณา วงศ์หงษ์, จินตนา อมรสงวนสิน, และณัฐพล จันทร์แก้ว, “การถอดบทเรียนการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านตะเกราทอง หมู่ 6 ตำบลบ้านแสง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง,” วารสารวิจัยรำไพพรรณี 11, ฉ.1 (2560): 122–132.

มงคล ด่านธานินท์, บัญชา แก้วส่อง, วีระ ภาคอุทัย, ประสิทธิ์ คุณุรัตน์ และ สุวิทย์ ธีรศาสวัต. ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 3 ป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2536.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. “รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย ประจำปี 2559 – 2560.” https://www.seub.or.th/document/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562).

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. “รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย ประจำปี 2560 -2561.” https://www.seub.or.th/document/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562).

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว. “ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ 2561.” (เอกสารเผยแพร่), สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว, 2561.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. “ธรรมนูญสุขภาพเพื่อสุขภาวะชุมชน.” https://www.nationalhealth.or.th/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562).

สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้. “ข้อมูลป่าชุมชนในประเทศไทย ข้อมูลป่าชุมชนต้นแบบจังหวัดสระแก้ว.” https://www.forest.go.th/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562).

เสน่ห์ จามริก และคณะ, ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 1, กรุงเทพฯ: สถาบันท้องถิ่นพัฒนา, 2536.

Ostrom, E. Beyond Markets and States: Polycentric Governance of Complex Economic Systems, American Economic Review, 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/29/2021