กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภิญญาพัชญ์ ติบวงษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

คำสำคัญ:

กฎหมายต้นแบบ, การพัฒนา, อำนาจหน้าที่, ผู้ตรวจการแผ่นดิน

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การวิจัยนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำไปพัฒนากฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน

ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือบริการสาธารณะต่อศาลปกครองสูงสุด และการยื่นเรื่องคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อศาลรัฐธรรมนูญ การไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัย การตรวจสอบความล่าช้าของการพิจารณาคดีของศาล การไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายของคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน และรูปแบบการได้มาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้อค้นพบนี้ นำไปสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบ เพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน

ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน  ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างแท้จริง

References

สมภพ โหตระกิตย์. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท., 2512.

มนตรี รูปสุวรรณ. กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2535.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

สิริวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ และสถาพร สระมาลีย์. “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง.” (เอกสารประกอบการบรรยาย). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ม.ป.ป.

รอยพิมพ์ ถีระวงษ์. “การสอบสวนเชิงระบบของผู้ตรวจการแผ่นดิน.” วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 10, ฉ. 2 (2560): 12.

รักษเกชา แฉ่ฉาย. ผู้ตรวจการแผ่นดินสุวีเดนและผู้ตรวจการแผ่นดินไทยเหมือนในความแตกต่างและแตกต่างในความเหมือน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 2554.

เฉลิมศักดิ์ จันทรทิม. ผู้ตรวจการแผ่นดินกับการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม.” กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม, 2551.

รอยพิมพ์ ถีระวงษ์. “การสอบสวนเชิงระบบของผู้ตรวจการแผ่นดิน.” วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 10, ฉ.2 (2560): 63. แปลโดย พิริยะ ศิริโพธิ์พันธุ์กุล, 6, ฉ.1 (2550).

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. “ที่มาของผู้ตรวจการแผ่นดินในประเทศไทย.” http://www.ombudsman.go.th/10/2_1.asp, (accessed December 2, 2018).

ผานิต นิติทัณฑ์ประภาศ. “10 ปีผู้ตรวจการแผ่นดิน.” วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, ม.ป.ป., 2-3.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2559.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย.” พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2550.

Marianna Chobanyan. “The Role of the Institution of Ombudsman in Streng thening The Protection of Human Rights and Freedoms in Armenia, Moldova and Ukraine.”

https://repository.gchumanrights.org/handle/20.500.11825/659. (accessed October 1, 2019), 10-22.

Sweden Sverige. “Sweden and human rights.” https://sweden.se (accessed December 2, 2018).

Chris Gill, Jane Williams, Carol Brennan and Nick O’Brien. The Northern Ireland Assembly Ombudsman, (2013).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/29/2021