การอนุรักษ์ปลาสามน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมิติทางกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน

Main Article Content

อาจารย์เอกราช สุวรรณรัตน์
นางสาวจารุวรรณ ชูสงค์
อาจารย์ศิริชัย กุมารจันทร์
อาจารย์ภูริทัต สิงหเสม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปลาสามน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลานับว่า เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่อยู่คู่กับคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามาช้านาน ด้วยความโดดเด่นในเรื่องรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ สะท้อนถึงวิถีชีวิตถึงคนท้องถิ่นคนลุ่มน้ำที่ใช้สอยประโยชน์จากทรัพยากรระบบนิเวศน์สามน้ำ คือเค็ม จืด กล่อย เมื่อความเจริญเกิดขึ้น ชุมชนเมืองขยายตัว ทะเลสาบสงขลาเสื่อมโทรมลง กอปรกับนโยบายของรัฐหลายอย่างที่ไม่สอดคล้องกับภูมินิเวศน์ดั้งเดิมของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การจับปลาสามน้ำในปริมาณมากแต่ปลาธรรมชาติลดลง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ หน่วยงาน และองค์กรที่มีอยู่ในขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์ปลาสามน้ำให้ยั่งยืนได้


เมื่อศึกษาพบว่า พื้นที่มีความแตกต่างกันทั้งในแง่มิติทางกฎหมายและมิติทางสังคม บริบทลักษณะของชุมชนทมีความจำเพาะและเกี่ยวพันกันในแง่ของอำนาจหน้าที่ นำมาซึ่งการศึกษากฎหมายที่เหมาะสมกับลักษณะของแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล เป็นต้น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ คือ มีกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบแยกตามภารกิจขององค์กร บางอย่างทับซ้อน บางอย่างเป็นช่องว่างทำให้เกิดปัญหาได้


ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ควบคู่กับการส่งเสริมมิติทางสังคม คือ การสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญ อันจะทำให้การอนุรักษ์ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกฎ ทองขะโชค และคณะ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าต้นน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (รายงานผลการวิจัย) สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2559.

กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง. “ความเข้มแข็งของชุมชนประมงท้องถิ่น.” https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/1210/115684 (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564).

กิตติศักดิ์ ปรกติ. สิทธิของบุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2550.

เครตัน เจมต์ แอล. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. แปลโดย วันชัย วัฒนศัพท์, กรุงเทพฯ: ศูนย์สันติวิธีเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, 2543.

ทีมข่าวภูมิภาค. “ชู ‘ช่องฟืนโมเดล’ อนุรักษ์-จับสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา.” ไทยรัฐออนไลน์, 12 กรกฎาคม 2557. https://www.thairath.co.th/content/435868. (สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563).

เทศบาลตำบลควนเนียง. “ประวัติความเป็นมาเทศบาลควนเนียง.” http://www.Khua nniangcity. go.th/content/information/2 (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563).

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496, มาตรา 50.

พวงชมพู ประเสริฐ. ““เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบางขวน” พลิกฟื้น...ทะเลสาบสงขลา แหล่งอาหารสำคัญชาวบ้าน.” กรุงเทพธุรกิจ, 1 ตุลาคม 2562. https://www.Bang kokbiznews.com/ne ws/detail/849207. (สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, มาตรา 67.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, มาตรา 66.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 43.

ศิริชัย กุมารจันทร์ และคณะ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (รายงานผลการวิจัย) สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2559.

สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ. “ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จังหวัดพัทลุง.” https://happynetwork.org/project/3693. (สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563).

เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. “จากประมงพื้นบ้านส่งตรงถึงคนกิน “ร้านคนจับปลา” การันตี สด สะอาด ไร้ฟอร์มาลิน.” https://www.sentangsedtee.com/exclusive /article_60389 (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563)

เอกราช สุวรรณรัตน์ และคณะ. ธรรมนูญชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาคลองท่าแนะจังหวัดพัทลุง (รายงานผลการวิจัย) .พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2561.