การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนุท ชัยรัตนะ
อาจารย์ณัฐพล เมฆแดง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างแนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เนื่องจากเกาะพิทักษ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ประสบปัญหาขยะทั้งจากชุมชน การท่องเที่ยว และขยะทะเล ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยครั้งนี้ด้วยกระบวนการสำรวจขยะ และการสนทนากลุ่มประชากรที่ใช้ในการสำรวจขยะชุมชนมี 27 ครัวเรือน ส่วนการสำรวจขยะทะเลใช้การสุ่มเก็บตัวอย่างขยะจากชายหาดทั้ง 3 หาดของเกาะพิทักษ์ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยปริมาณขยะก่อนและหลังสร้างแนวทางการจัดการขยะด้วย t-test


การสำรวจขยะก่อนเริ่มการจัดการพบว่า มีอัตราการเกิดขยะชุมชน 0.51±0.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยขยะอินทรีย์มีสัดส่วนมากที่สุด รองลงมา คือ ถุงพลาสติก กระดาษ ขวดแก้วและอื่น ๆ และพบขยะทะเลเฉลี่ย 1.29 กิโลกรัม/ความยาวชายฝั่ง 1 เมตร


แนวทางจัดการขยะชุมชนเกาะพิทักษ์กำหนดขึ้น โดยการสนทนากลุ่มของผู้วิจัยและชาวชุมชน ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้ 1) จัดหาถังขยะสำหรับแยกขยะในทุกครัวเรือน  2) จัดเก็บหรือใช้ประโยชน์ขยะรีไซเคิลอย่างเหมาะสม 3) กำจัดขยะอินทรีย์ด้วยการฝังกลบหรือหมักปุ๋ยชีวภาพ และ 4) จัดกิจกรรมเก็บขยะทะเลรอบเกาะพิทักษ์ การประเมินผลการจัดการขยะตามแนวทางทั้ง 4 ข้อ พบว่า สามารถลดปริมาณขยะพื้นที่เกาะพิทักษ์ได้ โดยอัตราการเกิดขยะชุมชนลดลงร้อยละ 49.02 และขยะบนชายหาดลดลงร้อยละ 38.76 อย่างไรก็ดี ชุมชนควรมีกระบวนการที่ทำให้มีการจัดการขยะตามแนวทางที่กำหนดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนุท ชัยรัตนะ , อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนุท ชัยรัตนะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

อาจารย์ณัฐพล เมฆแดง , อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

อาจารย์ณัฐพล เมฆแดง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

References

ฐิตินันท์ ศรีสถิต. คู่มือเรียนรู้ขยะทะเล : ชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2552.

นภัส น้ำใจตรง และนรินทร์ สังข์รักษา. “พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.” วารสารชุมชนวิจัย 13, ฉ.2 (2562): 187.

เบญจมาศ ณ ทองแก้ว และคณะ. “ความมั่นคงทางอาหารแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 38, ฉ.2 (2561): 52.

พรพิมล วิกรัยพัฒน์. “การจัดการขยะในครัวเรือนชุมชนขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่.” การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45, 30 มกราคม -2 กุมภาพันธ์ 2550.

สามารถ ใจเตี้ย. อนามัยสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2557.

Google Maps. “พื้นที่เกาะพิทักษ์และบริเวณต่าง ๆ ที่สำรวจขยะทะเล.” https://www.google.co.th/maps (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560).

Smith, M., Love, D. C., Rochman, C. M. and Neff, R. A., “Microplastics in Seafood and the Implications for Human Health.” Current Environ mental Health Reports 5, (2018): 375.