การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐ
คำสำคัญ:
ที่ดินของรัฐ, การบุกรุก, การแก้ไขกฎหมายบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งในกรณีของทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาและสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผลการศึกษาพบว่า การบุกรุกที่ดินของรัฐมีปัญหาที่สำคัญ คือ ปัญหาความลักลั่นของบทสันนิษฐานและบทกำหนดโทษของกฎหมายฉบับต่าง ๆ ปัญหาการปล่อยปละละเลยของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมดูแล ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและท้องถิ่น นอกจากนี้ ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มบทสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นการกระทำความผิดเช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องฉบับอื่น ๆ และควรแก้ไขบทกำหนดโทษในกฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีอัตราโทษอ้างอิงในมาตรฐานเดียวกัน ควรบัญญัติความผิดและบทกำหนดโทษเป็นการเฉพาะสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปล่อยปละละเลยในการตรวจสอบและควบคุมดูแลที่ดินของรัฐ ควรให้ถือว่าประชาชนเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้รางวัลสำหรับผู้แจ้งข้อมูลหรือสินบนนำจับ ควรให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินต่อเมื่อมีการส่งมอบที่ดินเรียบร้อยแล้ว และ ควรกำหนดความผิดบุกรุกที่ดินของรัฐไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นการค้าหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
References
ตรีทศ นิโครธางกูร และ วิชิต จรัสสุขสวัสดิ์, โครงการวิจัย เรื่อง ทรัพย์สินของแผ่นดิน. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2546.
ประมวลกฎหมายที่ดิน.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
ประมวลกฎหมายอาญา.
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518.
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484.
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507.
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535.
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562.
สมจิตร ทองประดับ. คำอธิบายประมวลกฎหมายที่ดิน. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ, 2542.
เสนีย์ ปราโมช. อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายลักษณะทรัพย์.กรุงเทพ; เนติบัณฑิตยสภา, 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น