การควบคุมกิจการรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) เพื่อนำไปสู่เมืองแห่งการท่องเที่ยว

Main Article Content

วระเดช ภาวัตเวคิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) และการประกอบกิจการขายอาหารบนรถยนต์ อีกทั้งกฎหมายที่ใช้บังคับว่าด้วยเรื่องสภาพของรถยนต์ สุขอนามัยของอาหาร และเพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายในการบังคับว่าด้วยเรื่องสภาพของรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ และสุขอนามัยของอาหาร ให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่เมืองแห่งการท่องเที่ยว


เมื่อศึกษาพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ไม่ได้นิยามเกี่ยวกับรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ไว้โดยเฉพาะ รวมทั้งการดัดแปลงสภาพรถยนต์ กฎหมายจะกล่าวถึงการดัดแปลงสภาพรถยนต์เฉพาะภายนอกรถยนต์ แต่ไม่ครอบคลุมการดัดแปลงสภาพภายในรถยนต์ ส่วนการจดทะเบียนพาณิชย์กฎหมายครอบคลุมเฉพาะการค้าเร่ แผงลอย แต่ไม่ครอบคลุมรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ รวมถึงสถานที่จอดรถยนต์ขายอาหาร กรณีสถานที่สาธารณะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และสุขอนามัยของอาหารจะควบคุมสุขอนามัยของอาหารทั่วไป แต่ไม่มีการควบคุมสุขอนามัยอาหารของรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่โดยเฉพาะ


ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมกิจการรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ให้ได้มาตรฐาน ควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์โดยเพิ่มคำนิยามคำว่า “รถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่” และเพิ่มการดัดแปลงภายในรถยนต์ ส่วนกรณีการจดทะเบียนพาณิชย์ ควรเพิ่มคำนิยามคำว่า “รถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่” เพื่อจดทะเบียนให้ถูกต้อง กรณีสถานที่จอดรถหน่วยงานส่วนท้องถิ่นควรออกเทศบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาตรถขายอาหารเคลื่อนที่ และกรณีสุขอนามัยควรออกกฎกระทรวงเฉพาะประเภทรถยนต์ขายอาหารเคลื่อนที่ เพื่อควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร ให้ได้มาตรฐานเพื่อนำไปสู่เมืองแห่งการท่องเที่ยวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา โตสิตระกูล. จดทะเบียนธุรกิจด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ที่ปรึกษากฎหมาย เมริท จำกัด, 2551.

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535, มาตรา 38.

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522, มาตรา 4.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522, มาตรา 14-15.

มนธีร์ กรกำแหง. “Food Truck ธุรกิจติดล้อ กระแสแรง ลงทุนง่าย หลากหลายไอเดีย.”อุตสาหกรรมสาร, 61 (กันยายน – ตุลาคม 2562): 26 - 28.

ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการตรวจสภาพรถยนต์และเกณฑ์การวินิจฉัยผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2555, ข้อ 11.

Dana Krook. “The History of the Food Truck.” https://www.touchbistro .com/blog/the-history-of-the-food-truck/ (accessed Jan 20, 2019).

National Highway Traffic Safety Administration. title 49 CFR Part 571 Docket No. NHTSA-2009-0154 RIN 2127-AK52. https://www.nhtsa.gov/laws-regulations (accessed Jan 20, 2019).

The Rules of the city of new York. Chapter 6: Mobile Food Vending, §6-04 Mobile Food Vending Units: Construction and Equipment Require ments for All Classes of Mobile Food Vending Units. https://codeli brary.amlegal.com/codes/newyorkcity/latest/NYCrules/0-0-0-42551 (accessed Jan 26, 2019).

Yingyos Soonthornsaratool. “Regulating Food Truck in Thailand.” (Master of Law Thesis, in Business Laws (English Program), Faculty of Law, Thammasat University, 2017), 65.

U.S. Food and Drug Administration. “(title 21) Regulatory Information, FDA Rules and Regulations.” https://www.fda.gov/regulatory-information /fda-rules-and-regula tions (accessed Jan 28, 2019).

U.S. Food and Drug Administration. “Retail Food Protection” https://www. fda.gov/food/guidance-regulation-food-and-dietary-supplements/re tail-food-protection. (accessed Jan 28, 2019).