ปัญหาทางกฎหมายในการนำกฎหมายแรงงานไปเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนแก่มหาวิทยาลัยในกำกับ : ศึกษากรณีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่วินิจฉัยกรณีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำสำคัญ:
พนักงานมหาวิทยาลัย, กฎหมายคุ้มครองแรงงาน, มหาวิทยาลัยในกำกับบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการนำกฎหมายแรงงานไปเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนแก่มหาวิทยาลัยในกำกับ : ศึกษากรณีความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่วินิจฉัยกรณีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยในกำกับต่าง ๆ ได้บัญญัติกฎหมายให้มหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่พนักงานมหาวิทยาลัยต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่าการนับระยะเวลาในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับไม่ให้นับรวมกับเวลาที่ทำงานก่อนมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งเป็นการขัดกับกฎหมายแรงงานที่กำหนดให้สิทธิและหน้าที่ของพนักงานต้องโอนไปยังกิจการใหม่ด้วย อีกทั้งยังพบว่ามีการกฎหมายลูกที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานในเรื่องการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนทำให้พนักงานเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย ในการตีความยังมีการนำมาตรา 4 มาวินิจฉัยว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นองค์กรซึ่งไม่แสวงหากำไร ทั้ง ๆ ที่กฎหมายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ห้ามนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้ แต่กับกรณีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งมีการหารือในประเด็นที่คล้ายกันมิได้นำเอาหลักการในมาตรา 4 มาใช้ด้วย ผลจากข้อหารือดังกล่าวยังอาจมีผลให้องค์กรอื่น ๆ ที่นำกฎหมายคุ้มครองแรงงานไปเป็นมาตรฐานขั้นต่ำอาจนำไปใช้เป็นบรรทัดฐาน
References
เกษมสันต์ วิลาวรรณ. การดำเนินคดีในศาลแรงงาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2527.
เกษมสันต์ วิลาวรรณ. คำอธิบายกฎหมายแรงงาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ วิญญูชน, 2544.
เกษมสันต์ วิลาวรรณ. กฎหมายแรงงานกับการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.
ตรีเนตร สาระพงษ์. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน.กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร, 2564
ตรีเนตร สาระพงษ์. หลักกฎหมายในคดีแรงงาน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร, 2564
ตรีเนตร สาระพงษ์. กฎหมายแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ เงินทดแทน ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน และแรงงานนอกระบบ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร, 2563
Hugh Collins, K. D. Ewing and Aileen McColgan, Labour Law, London: Cambridge University Press, 2012
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น