การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศึกษาเปรียบเทียบภาคประชาชน และคณะกรรมการหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาดา ศรีใหม่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • อาจารย์ทศพร จินดาวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท, ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน, คณะกรรมการหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจหน้าที่การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทชุมชนระหว่างศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กับคณะกรรมการหมู่บ้าน ตามข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 ในข้อพิพาททางแพ่งและอาญา ซึ่งอาจเกิดความซ้ำซ้อนของตัวบุคคล และศึกษาถึงขอบเขตการระงับข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตลอดถึงศึกษาสภาพบังคับในกรณีที่คู่กรณียินยอมตกลงแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตาม                                                                                    

ข้อค้นพบจากการศึกษามีดังนี้ บุคคลคนเดียวอาจทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านหรือผู้ไกล่เกลี่ยของศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคปะชาชนได้ ถ้ามีคุณสมบัติและผ่านการอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักสูตรที่พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 กำหนดเอาไว้ ส่วนขอบเขตการระงับข้อพิพาทพบว่า ในทางแพ่งฝ่ายคณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจระงับข้อพิพาทได้กว้างขวางกว่าศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน แต่ในทางอาญาฝ่ายศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนมีอำนาจระงับได้กว้างกว่า จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้กฎหมาย ส่วนสภาพบังคับในการไกล่เกลี่ยนั้น คณะกรรมการหมู่บ้านไม่มีอำนาจบังคับหากคู่กรณียินยอมแล้ว และไม่ปฏิบัติตาม แต่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เมื่อคู่กรณีตกลงยินยอมแล้วไม่ปฏิบัติตาม คู่กรณีฝ่ายเรียกร้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามข้อตกลงได้                                                  

ผู้เขียนจึงเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยควรแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 เพื่อให้คณะกรรมการหมู่บ้านมีอำนาจหน้าที่ที่มีมาตรฐานเดียวกันไม่ต่างไปจากศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คู่พิพาทในชุมชนต่อไป

References

กองส่งเสริมการระงับข้อพิพาท. “เอกสารแนวทางการปฏิบัติงานตามกฎหมายไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (สำหรับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (นำร่อง)).” กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.

ชลัท ประเทืองรัตนา. การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง : เส้นทางแห่งการสร้างความเข้าใจร่วมกัน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า 2559.

ตะวัน มานะกุล. กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในประเทศไทย. โครงการสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

ธนทร ผดุงธิติฐ์. “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งก่อนฟ้องคดี.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 6, ฉ.10 (ธันวาคม 2562): 5824-5825.

ธงทอง จันทรางศุ. “ความเสมอภาค: อำนาจอธิปไตยกับศาล สถาบันพระปกเกล้า.” http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ความเสมอภาค” _%3A_อำนาจอธิปไตยกับศาล (สืบค้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564).

นพพร โพธิรังสิยากร. “ที่มาของการระงับข้อพิพาทนอกศาล.” ดุลพาห (พฤษภาคม - สิงหาคม 2563), 3.

บัณฑิต โต้ทองดี. “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: ศึกษาการเบี่ยงเบนคดีความรุนแรงในครอบครัว.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2555.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายอาญา

พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546

ภูภณัช รัตนชัย. “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทชุมชน: กรณีศึกษาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี.” คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2561.

ระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พ.ศ. 2562

สำนักบริหารการปกครองท้องที่. “คู่มือ กม. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.).” กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

อมรรัตน์ มารูปหมอก. “การประเมินผลนโยบายการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยใช้วิธีการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน: ศึกษากรณีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เขต 2.” ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา นโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/30/2021