การจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
สวัสดิการของรัฐ, ผู้สูงอายุ, เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้การวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 392 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และ 2) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า การจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.12) โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ 1) นโยบายของรัฐและการสนับสนุนของภาครัฐ 2) การผลักดันนโยบายของผู้บริหารระดับท้องถิ่น 3) ทรัพยากรในการดำเนินงาน และ 4) การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ แนวทางการจัดสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัยเห็นว่า ควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุให้มีความชัดเจนมากขึ้น การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านผู้สูงอายุที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ เพื่อการขับเคลื่อนงานด้านสวัสดิการของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กรมการปกครอง. “จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” https://stat.bora.dopa.go.th/ne w_stat/webPage/statByAge.php (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565).
กรมกิจการผู้สูงอายุ. “สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด.” https://www.dop. go.th/th/know/side/1/1/1099 (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565).
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. “มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ.” http://www.dla. go.th/work/e_book/eb1/stan16/p0_1.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563).
กรมสุขภาพจิต. “ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ.” https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476 (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565).
ณัฐภัทร ถวัลยโพธิ และคณะ. การศึกษาวิเคราะห์และยกร่างกฎหมายลำดับรองเพื่อรองรับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้งบประมาณเพื่อจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2557.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สุงอายุ. “รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2563.” https://thaitgri.org/?cat=12 (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565).
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. “สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย.” วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 7, ฉ.1 (2557): 75.
บุคลานุกรม
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 สัมภาษณ์โดย กันยารัตน์ จันทร์สว่าง, ม.ป.ท, 5 พฤศจิกายน 2563.
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2 สัมภาษณ์โดย กันยารัตน์ จันทร์สว่าง, ม.ป.ท, 2 พฤศจิกายน 2563.
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 3 สัมภาษณ์โดย กันยารัตน์ จันทร์สว่าง, ม.ป.ท, 2 พฤศจิกายน 2563.
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4 สัมภาษณ์โดย กันยารัตน์ จันทร์สว่าง, ม.ป.ท, 5 พฤศจิกายน 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น