สิทธิของวัดในการได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุที่มรณภาพ
คำสำคัญ:
วัด, ทายาท, มรดก, พระภิกษุ, ผู้รับพินัยกรรมบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิของวัดในการได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุที่มรณภาพ เนื่องจากวัดอาจได้รับทรัพย์สินของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรม หรือการได้รับทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ซึ่งการที่วัดได้รับสิทธิทางทรัพย์สินจากพระภิกษุทั้ง 2 กรณีนั้น ยังมีประเด็นทางกฎหมายที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลักกฎหมายบางประการ
จากการศึกษา พบว่า ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 กำหนดให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล วัดจึงเป็นผู้รับพินัยกรรมได้ แต่วัดดังกล่าวต้องมีการจัดตั้งให้ถูกต้องตามตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้ของบทบัญญัติเรื่องพินัยกรรม เช่น หากจะเรียกร้องทรัพย์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็จะต้องใช้สิทธิภายในอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามและวรรคท้าย ส่วนวัดอยู่ในฐานะอาจได้รับทรัพย์สินของพระภิกษุอีกกรณีหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเป็นพิเศษเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างสมณเพศ เมื่อพระภิกษุถึงแก่มรณภาพ ทรัพย์สินนั้นย่อมตกเป็นสมบัติแก่วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทั้งสิ้น แต่ไม่รวมถึงหนี้สินของพระภิกษุที่มีก่อนมรณภาพ เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายหาได้ใช้คำว่ามรดกของพระภิกษุแต่อย่างใดไม่ วัดจึงมิได้รับทรัพย์สินในฐานะที่เป็นทายาท เจ้าหนี้ของพระภิกษุจึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของพระภิกษุ
ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ หากพระภิกษุมีหนี้สิน เจ้าหนี้ของพระภิกษุดังกล่าวจะมีสิทธิบังคับจากทรัพย์สินของพระภิกษุก่อนที่ทรัพย์สินนั้นจะตกแก่วัดหรือไม่ ผู้เขียนมีความเห็นว่า เจ้าหนี้น่าจะไม่มีสิทธิบังคับจากทรัพย์สินของพระภิกษุนั้น เนื่องจากมาตรา 1623 บัญญัติถึงทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ หาได้ใช้คำว่ามรดก อันจะรวมถึงหนี้ของพระภิกษุแต่อย่างใดไม่ และถือเป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิทายาทโดยธรรมทั้งหมดของพระภิกษุ จึงน่าจะรวมถึงเจ้าหนี้ของพระภิกษุด้วย
References
กฤษรัตน์ ศรีสว่าง. คำอธิบายกฎหมายมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2563.
กีรติ กาญจนรินทร์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2563.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2479
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2495
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2503 (ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2532
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2544 (ประชุมใหญ่)
เฉลิมชัย เกษมสันต์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2563.
โชค จารุจินดา. คำอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2528.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แก้ไขเพิ่มเติมโดย มานิตย์ จุมปา. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2537.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505.
เพรียบ หุตางกูร แก้ไขเพิ่มเติมโดย ไพโรจน์ กัมพูสิริ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.
ภิรนา พุทธรัตน์. “สิทธิของวัดในทรัพย์มรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย.” วารสารวิทยาลัยสงฆ์ลำปาง 6, ฉ.1 (มกราคม - มิถุนายน 2560), https://so04.tci-thaijo .org/index.php/ NBJ/article/ NBJ/article/view/253058/171838 (สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น