การวิเคราะห์และการพินิจสาเหตุของความไร้เสถียรภาพในกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย
บทคัดย่อ
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมาหากษัตริย์เป็นประมุขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ปี พ.ศ 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เป็นต้นมา สถานการณ์ทางการเมืองและสังคมไทยก็มิได้เป็นไปอย่างราบรื่น เกิดความวุ่นวายและความขัดแย้งภายในอยู่บ่อยครั้ง มีการก่อรัฐประหารอยู่หลายครั้งและทำให้จวบจนปัจจุบัน นับตั้งแต่ปี 2548 สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยยังคงปั่นป่วนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการนองเลือดบนท้องถนนหลายครั้ง และนำไปสู่การรัฐประหารอีกสองครั้งในปี 2549 และ 2557 ประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาท และยังไม่มีทีท่าว่าจะออกจากวงจรนี้ได้
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของความไร้เสถียรภาพของกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยและ 3)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสร้างขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย และ 3) เพื่อนำเสนอแนวความคิดชุดใหม่ที่เป็นแนวทางเสนอแนะ นำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงให้กับประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเชิงเอกสาร และเชิงประวัติศาสตร์การเมืองไทย จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งในประเทศไทย ได้แก่ 1) กองทัพเข้าแทรกแซงทางการเมืองบ่อยครั้ง 2) ความอ่อนแอของระบบพรรคการเมืองหลายพรรค 3) การพัฒนาด้านประชาสังคมอยู่ในระดับต่ำ และ (4 กระบวนการประชาธิปไตยขาดหลักนิติธรรม ปรากฎการณ์ดังกล่าว มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับโครงสร้างทางการเมือง ระบบพรรคการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง รวมถึงประชาสังคมอย่างลึกซึ้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อความไร้เสถียรภาพในกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ: การเมือง, ความไร้เสถียรภาพ, ประชาธิปไตย, ประเทศไทย
References
Apinya Dissamarn. “Thailand’s Reform and the Thai Political Crisis Exit,” King Prajadhipok's Institute, 2014.
Elinor Bartak. The Student Movement in Thailand 1970-1976. Australia: Centre of Southeast Asian Studies, Monash University, 1993.
James Ockey. “Thailand in 2006: Retreat to Military Rule.” Journal of Asian Survey Vol. 47, No.1 (2007): 23-32.
Jittima Arnsakulcharoen. “Classes and Age of Thai Politics and Government.” Journal of Nakhon Phanom University 5, Vol. 1 (2015): 7-9.
Kanala Sukpanich and Sujit Boonbongkan. “Military and Thai Political Development.” Thai Military Academic Pamphlet, Social Science Association of Thailand 1, Vol. 3 (1986): 20-22.
Prajak Kongkirati. “40 Years, 14 October-40 Years of Royal Nationalism-Democracy.” Prachatai (5 May 2018), https://prachatai.com/journal/2013/07/4769. (Retri eved on 23 December 2021).
Samuel P. Huntington. “Democracy's Third Wave.” The Journal of Democracy, 2 (1991): 23.
Seymour Martin Lipset. “Industrialization and Democracy, Industrialization and Demo cracy.” The University of Chicago Press Jounal 3, (1965): 353.
Somluck Songsamphan. “19 September 2006: Former Government Official Disclosed the Truth in New York When Thaksin Knew about the Coup D’état.” https://www.bbc.com/thai/58552609 (Retrieved on December 15, 2021).
Suthinan Suwanwijit and Worawit Klinsuk. “Military and Politics in Thailand.” Journal of Modern Learning Development 6, Vol. 2 (2021): 345.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น