มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร: ศึกษากรณีข้าวหอมมะลิอินทรีย์

Main Article Content

นายเมธา ทองเจิม
รองศาสตราจารย์ ดร.ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล
รองศาสตราจารย์วิมาน กฤตพลวิมาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่ควบคุมคุณภาพสินค้าทางการเกษตรประเภทข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค โดยมีกฎหมายและหน่วยงานที่ใช้ควบคุมมาตรฐานคุณภาพสินค้าทางการเกษตรประเภทข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้ได้มาตรฐาน ผู้วิจัยได้ศึกษากฎหมายพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร พ.ศ. 2551 แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์เล่ม 1, แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์เล่ม 4 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522


ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์เล่ม 1 และแนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์เล่ม 4 ได้กล่าวถึง วิธีการผลิต การแปรรูป การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา และการขนส่ง โดยที่ไม่ใช้สารเคมีในทุกขั้นตอน ซึ่งสามารถใช้เป็นมาตรฐานของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ แต่ไม่มีกฎหมายที่ได้กำหนดให้ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานคุณภาพของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่วางจำหน่าย มีการใช้สัญลักษณ์รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ แต่ไม่มีกฎหมายบังคับว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องมีสัญลักษณ์ แม้ไม่มีสัญลักษณ์ก็สามารถขายสินค้าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ ฉะนั้น การขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ไม่มีสัญลักษณ์หรือไม่ได้ผ่านการตรวจสอบก็ไม่ถือว่ามีความผิด


ผู้วิจัยได้เสนอว่า ควรมีกฎหมายและเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ควบคุมมาตรฐานข้าวหอมมะลิอินทรีย์โดยกำหนดให้ว่าก่อนที่จะวางขายข้าวหอมมะลิอินทรีย์ผู้ผลิตจะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐและมีการออกเครื่องหมายรับรองให้แก่สินค้า เพื่อที่ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคจะได้มาตรฐาน รัฐสามารถดำเนินคดีและลงโทษต่อผู้จำหน่ายและผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ไม่ได้มาตรฐานได้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Agriculture and Cooperatives, National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. (2014). Guidelines on Thai Agricultural Standard TAS 9000 Part 1(G)-2009, Organic Agriculture Part 1: The Production, Processing, Labelling and Marketing of Produce and Products from Organic Agriculture. Retrieved on 30 March 2021, from https://www.acfs.go.th/standard/download/GUI DANCE_ORGANIC-PART-1_PRODUCTS-FROM-ORGANIC.pdf

Ministry of Agriculture and Cooperatives, National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. (2014). Guidelines on Thai Agricultural Standard TAS 9000 Part 1(G)-2009, Organic Agriculture Part 4: The Organic Rice. Retrieved on 30 March 2021, from https:// www.acfs.go.th/files/files/commodity-standard/20190609001750_ 339256.pdf

Green Net. (Earth Net Foundation). What is organic agriculture? Retrieved on 12 March 2022, from https://www. greennet.or.th/principle-oa/

National Organic Agriculture Development Committee, National Organic Agriculture Development Strategy (2017-2021), (Bangkok: Office of Agricultural Economics, 2017), page 17.

Guidelines on Thai Agricultural Standard TAS 9000 Part 1(G)-2009, Organic Agriculture Part 1: The Production, Processing, Labelling and Marketing of Produce and Products from Organic Agriculture.

Guidelines on Thai Agricultural Standard TAS 9000 Part 1(G)-2009, Organic Agriculture Part 4: The Organic Rice.

Consumer Protection Act, B.E. 2522 (1979).

Agricultural Commodity Standards Act, B.E. 2551 (2008).

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS). Background, Retrieved on 12 December 2022, from https://www. acfs.go.th/