กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองเพศสภาพ สิทธิและหน้าที่

ผู้แต่ง

  • นายพงศกร ถิ่นเขาต่อ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
  • ศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาจารย์ที่ปรึกษา

คำสำคัญ:

กฎหมายต้นแบบ, การรับรองเพศสภาพ, สิทธิและหน้าที่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพเพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research)  การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviewing)  การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ (Participatory Design, Co-Design) และการรับฟังความคิดเห็น (Hearing)

 ผลการศึกษา พบว่า เพศสภาพของบุคคลถือว่ามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกับบุคคลที่เป็นเพศหญิงและเพศชาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ให้มีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคที่เท่าเทียมกัน กฎหมายรับรองเพศสภาพจะทำให้บุคคลตามเพศสภาพได้รับความคุ้มครองถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างระหว่างเพศ จึงขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผลการวิจัยได้คำตอบเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองเพศสภาพ สิทธิและหน้าที่ โดยมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย คุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ วิธีการรับรองเพศสภาพ วิธีการขอเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ สิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ และความรับผิดที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพ

ข้อเสนอแนะ ให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติเพื่ออนุมัติหลักการ นำไปเผยแพร่ต่อกลุ่มบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพที่ ผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้เกิดกลไกในการคุ้มครองบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงเพศสภาพและมีสิทธิและหน้าที่ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น

References

กนกนันท์ ศรีคชา, (2559). การรับรองสถานะทางกฎหมายศึกษากรณีการใช้คำนำหน้านามของบุคคลที่แปลงเพศ, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

ชีรา ทองกระจาย. (2562). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา 82427 การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์พรรคก้าวไกล. สัมภาษณ์, 11 เมษายน 2565.

พระราชบัญญัติความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40ก, หน้า 8.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40ก, 8.

อารยา สุขสม, รัฐธรรมนูญไทยกับความหลากหลายทางเพศ, วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 11(2 ), 90-91

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์พรรคก้าวไกล. สัมภาษณ์, 11 เมษายน 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/24/2023