กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการก่อการร้าย
คำสำคัญ:
การก่อการร้าย, กฎหมายต้นแบบ, กฎหมายก่อการร้ายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับการก่อการร้าย เพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviewing) การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ (Participatory Design, Co-Design) และการรับฟังความคิดเห็น (Hearing)
ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการก่อการร้ายใช้บังคับอยู่หลายฉบับ ซึ่งไม่ชัดเจน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผุ้บังคับใช้กฎหมายมีความสับสน ไม่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้มีกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายขึ้นเฉพาะเพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล ผลการวิจัยได้คำตอบเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการก่อการร้าย โดยมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย คณะกรรมการประเมินสถานการณ์ก่อการร้ายการประเมินสถานการณ์ก่อการร้าย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย มาตรการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย การเยียวยาผู้เสียหาย บทกำหนดทา และอายุความ
ข้อเสนอแนะ ให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่ออนุมัติหลักการ และนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้มีการนำไปบังคับใช้เพื่อการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายให้หมดไปจากประเทศไทย
References
กรมพระธรรมนูญ. (2546, กันยายน). “ความรู้เกี่ยวกับศาลอาญาระหว่างประเทศ (ตอนจบ).” สภาทนายความ, 11, 50. หน้า 27-28.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ (2556). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ : วิญญูชน
กิติพงษ์ กิติยารักษ์.(2534).“Prosecutorial Discretion on Decition not to prosecute: A proposal for Thailand”.บทบัณฑิตย์เล่มที่47ตอน 4หน้า123 (ธันวาคม)
เกียรติขจร วัจนสวัสดิ์. (2521).“ดุลยพินิจในการไม่ฟ้องคดีอาญาที่มีมูลในสหรัฐอเมริกา” วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 หน้า 154-170
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ประมวลกฎหมายอาญา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น