ปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งนายทะเบียน ที่ 38/2564 เรื่อง ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย

Main Article Content

รองศาสตราจารย์สุเมธ จานประดับ
ดร.ธนสาร จองพานิช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณชัชชญา ทองจันทร์
นายวิชัย สุธรรมธารีกุล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา กรณีที่บริษัทประกันภัย มีหนังสือถึงผู้เอาประกันภัยเพื่อแจ้งการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบ เจอ จ่าย จบ หรือ COVID 2 in 1 จึงเป็นเหตุให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ออกคำสั่งนายทะเบียน ที่ 38/2564 เรื่องให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัทสำหรับกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ผู้เขียนจึงศึกษากรณีดังต่อไปนี้ (1) คำสั่งนายทะเบียน    ที่ 38/2564 เป็นกฎหมายหรือไม่ (2) คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ขัดต่อหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังหรือไม่ และ (3) คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ในบริบทของหลักกฎหมายมหาชน และหลักกฎหมายปกครองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่


ผลจากการศึกษา พบว่า 1. คำสั่งนี้ไม่ใช่กฎหมายเพราะ (1) ไม่มีผลในอนาคต (2) ไม่ได้ระบุโทษ (3) ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และ (4) ไม่ได้ใช้โดยทั่วไป 2. คำสั่งนี้ไม่ขัดต่อหลักที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง (Ex Post Facto Law) เพราะการที่จะใช้กับหลักนี้คำสั่งนี้ต้องเป็นกฎหมาย และ 3. คำสั่งนี้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจทางปกครองในการออกคำสั่งที่สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและเป็นแบบเฉพาะกรณี โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539     


ผู้เขียนจึงได้ข้อเสนอแนะว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย ไม่ควรยกเลิกคำสั่งนี้ เพราะจะเปิดช่องให้บริษัทประกันภัย ใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 หรือกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ ในอนาคต โดยอ้างบรรทัดฐานจากการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chaiwat Wongwattanasat. (1997). Administrative Procedure Law. (Bangkok: Chirarath Printing).

Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017). (6 April 2017). Government Gazette, Vol. 134, Section 40 Kor., Page 8.

Jiraniti Havanon. Professional Principles and Code of Ethics of Lawyers. (2010). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Krungthai-Axa.co.th. (2021,17 July). Conditions and Coverage of COVID-19 Customers Who Have a Health Policy with Krungthai-AXA, Life Insurance without Outpatient Benefits or OPD. Retrieved on 19 March 2022, from https://www.krungthai-axa.co.th/th/noopdcovid 19.

Nanthawat Boramanan. (2008). Lecture on Administrative Law No. 2: Funda mentals of Administrative Law. Retrieved on 20 May 2023, from http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1229.

Natthaphong Posakabut. (2007). Ex Post Facto Laws. Rapee Journal’05, Faculty of Law. Assumption University 27-28, 33. https://repository .au.edu/items/393b97a2-a1a1-445c-b09d-6d7372 d c59b4

Phornchai Soonthornpan and Natthaphong Posakabut. (1999). Principles of Private Law. (3rd Edition) Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Sakon Harnsuthiwarin (2022, January 25). Exercise of the Rights to Terminate the COVID-19 Insurance Policy. Retrieved 19 March 2022, from https://www.bankokonews.com.

Sumet Jarnpradub and Kamthorn Kamprasert. (2007). History of Thai Law and Main Legal Systems. (5th Edition). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

TNN ONLINE. (2021, 16 July). Check Here! All “Insurance” Companies with Active “Covid-19 policy”. Retrieved on 19 March 2022, from https:// www.Tnnthai land.com/news/wealth/85599

Yut Saeng-uthai. (2003). Law Studies. (5th Edition). Bangkok: Prakaipruek Press.

Yut Saeng-uthai.(1999). Introduction to Common Law. (14th Edition). Bangkok: Yongpol Trading.