มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ อยู่วัฒนะ สาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรวิทย์ อยู่วัฒนะ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมความมั่งคง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพบูลย์ ชูวัฒนกิจ สาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

นิติสัมพันธ์, อุปการะเลี้ยงดู, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคม วัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่การอุปการะเลี้ยงดูบุคคลภายในทางครอบครัว 2) ศึกษาเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับการสิทธิและหน้าที่ในอุปการะเลี้ยงดู   ผู้สูงอายุตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 3) เสนอแนวทางในการกำหนดมาตรการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ อันจะเป็นตัวแบบในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายอันจะประโยชน์ในการพัฒนาทางสังคมที่ยั่งยืน  ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)

          ผลการศึกษา พบว่า การอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุตามกฎหมายไทยกำหนดตามความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคู่สมรส บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรมเท่านั้นที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สูงอายุตามกฎหมาย แม้ตามความเป็นจริงจะมีการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุอยู่ในลักษณะอื่นอยู่ก็ตาม ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายของฝรั่งเศส นอกจากสามีภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสแล้ว สามีภริยาที่ตกลงทำข้อตกลงในการอยู่กินร่วมกันมีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในการอยู่กินร่วมกัน ขณะเดียวกันบุตรที่เกิดมาไม่ว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรมหรือบุตรที่บิดามารดารับรองต่างมีสิทธิหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูต่อบิดามารดา  ในมิติการจัดการด้านผู้สูงอายุโดยภาครัฐนของทั้งสองประเทศได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้นตามสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยในประเทศฝรั่งเศสเน้นการมีส่วนร่วมอย่างมากของครอบครัวและชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ 

สำหรับการสร้างศักยภาพและบทบาทในการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจุบันผู้คนมีความเข้าใจในเกณฑ์การพิจารณาความเป็นผู้สูงอายุและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม หน้าที่ในการดูแลผู้สูงควรเป็นของบุคคลอื่นในครอบครัวนอกจากคู่สมรสและบุตรตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยรัฐควรกำหนดเป็นเงื่อนไขและแนวทางที่ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกอื่นได้เข้ามามีส่วนในการอุปการะเลี้ยงดูภายใต้การดูแลของรัฐ

ดังนี้ จึงมีข้อเสนอแนะ ให้มีการส่งเสริมให้บุคคลภายในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงเข้ามามีบทบาทในอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ เมื่อมีการอุปการะเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ตามความเป็นจริงให้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  ทั้งควรให้สิทธิแก่บุคคลอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัว สามารถร้องขอเป็น “ผู้ดูแล”  เพื่อทำหน้าที่ให้การอุปการะเลี้ยงดู ช่วยเหลือ ดูแล รวมถึงให้พักอยู่อาศัยแก่ผู้สูงอายุ แล้วแต่กรณี

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ยุทธศาสตร์กรมกิจการ

ผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา, 2561.

กิจบดี ก้องเบญจภุช. กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักความเสมอภาค. [Online], available URL:

http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=657#m2, 2565 (กรกฎาคม, 14).

คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน (กปส.). สิทธิมนุษยชน, 2540.

จุมพล ศรีจงศิริกุล และคณะ. ศึกษามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศในการจัดสวัสดิการและ

สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ

สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2555.

ช.ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฏ์. แนวทางและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศ

ไทย. รายงานการวิจัย : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ไพโรจน์ กัมพูสิริ. หลักกฎหมายครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์. 2553.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – พ.ศ.2580 (ฉบับย่อ)). กรุงเทพฯ: ผู้พิมพ์

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122

ตอนที่ 4ก ลงวันที่ 13 มกราคม 2548, มาตรา 47 (1) (ญ).

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การคุ้มครอง การส่งเสริม และ

สนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อน, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอน

พิเศษ 117 ง ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2563.

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ใน

การจัดการศพตามประเพณี, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 117 ง ลงวันที่ 19

พฤษภาคม 2563

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและ

เงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของ

สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร, ข้อ 1 (2).

The French Civil Code

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/24/2023