ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มรองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีการตรวจพิสูจน์ การครอบครอง และการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย บุญคงมาก
นายพิทักษ์ พรหมสนิท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาถึงปัญหาการตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ไก่ป่า การครอบครองไก่ป่า และการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ 2.เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มรองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ศึกษากรณีการตรวจพิสูจน์ การครอบครอง และการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า


ผลการวิจัยพบว่า การครอบครองไก่ป่าของชาวบ้านเป็นการครอบครองที่ผิดกฎหมาย การตรวจพิสูจน์ไก่ป่าของเจ้าหน้าที่ในการอนุญาตครอบครองไม่ได้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยวิธีทางรหัสพันธุกรรม และกรณีที่มีการจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่า เจ้าหน้าที่จะพิจารณาไก่จากลักษณะทั่วไปตามความรู้ของตนเองโดยไม่ได้ตรวจสอบโดยวิธีทางรหัสพันธุกรรม นอกจากนี้ผู้เลี้ยงไก่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องไก่ป่าทำให้ครอบครองไก่ป่าโดยที่ไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองและขออนุญาตครอบครองไก่ป่า และในการจับกุมดำเนินคดีผู้ครอบครองไก่ป่า หากเป็นการครอบครองไก่ป่าที่อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการจับกุมและเจ้าหน้าที่มีความยืดหยุ่นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562


แนวทางแก้ไขปัญหาแบ่งออกเป็นสองแนวทางคือ 1. ยังคงให้ไก่ป่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย โดยมีแนวทางดังนี้ 1.1 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยให้ประชาชนมาแจ้งการครอบครองไก่ป่าและขออนุญาตครอบครองได้โดยไม่จำกัดเวลา 1.2.ก่อนนำไก่ป่ามาแจ้งการครอบครองและขออนุญาตครอบครอง และกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมในข้อหาครอบครองไก่ป่าโดยผิดกฎหมาย ต้องส่งไก่ป่าไปตรวจสอบโดยวิธีการทางรหัสพันธุกรรม 1.3.ให้หน่วยงานของรัฐสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในเรื่องไก่ป่า 1.4.ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจับกุมผู้ครอบครองไก่ป่าที่ครอบครองโดยผิดกฎหมายมีความเข้มงวดในการตรวจสอบจับกุม แนวทางที่ 2 ผู้วิจัยเห็นว่าควรปลดไก่ป่าออกจากการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา, พิมพ์ครั้งที่ 7 : กรุงเทพฯ, หจก. สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย), 2547.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ : พลสยาม พรินติ้ง(ประเทศไทย), 2551.

คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด, 2546.

จิตติ ติงศภัทิร์, กฎหมายอาญาภาค 1, พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ : บริษัท ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด, 2555.

ณัฐพล ยิ่งกล้า, กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของไทย, 2561.

ธานี วรภัทร์, หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร, พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2555.

ธนากร ฤทธิ์ไธสง,คู่มือการเพาะเลี้ยงไก่แจ้เชิงธุรกิจ, หจก.ซี.อาร์.เอส.ยูนิเวอร์แซล (1986) พิมพ์ครั้งที่ 1, 2545.

ปราโมทย์ ธนสวัสดิ์,คู่มือไก่พื้นเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด, 2553.

ยืนหยัด ใจสมุทร, คำอธิบายกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้และสัตว์ป่า, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2560.

วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์, วิ.อาญาพิสดาร เล่ม 1 ฉบับปรับปรุงปี 2558, กรุงเทพฯ : หจก. แสงจันทร์การพิมพ์,2558.

สมชาย บุญคงมาก, หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 ถึง 106,พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด, 2561.

หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญาภาค 1, พิมพ์ครั้งที่ 21 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ประเทศไทย), 2556.

ดุสิต กมลพาณิชย์, ความคิดเห็นของผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีต่อชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้, วิทยานิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547.

ประดิษฐ์ เจริญสุข, การบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535, วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.

สมชาย บุญคงมาก, ปัญหาการถ่วงดุลการไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 145/1, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2559.

โอรส วงสิทธิ์,ความพร้อมของพนักงานฝ่ายปกครองต่อการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท : ศึกษาเฉพาะพนักงานฝ่ายปกครองใน 5 จังหวัดชายแดนใต้, วิทยาลัยการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, 2541.

พหุสัมพันธุ์คนกับไก่ โครงการวิจัยพหุสัมพันธ์คนกับไก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเจ้าชายอากิฌิโนโนมิยา ฟูมิอิโต๊ะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้พระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, พิมพ์ครั้งที่ 1.

มีณญาบุญเจริญ, วารสารนิติเวชศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มกราคม –เมษายน พ.ศ. 2555.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำบรรยายเนติบัณฑิตย์ วิชากฎหมายอาญามาตรา 59-106 วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2559 ครั้งที่ 1.

กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์, http://www.breeding.did.go.th.biodiversity/chm/pvp_chm/provineculture/Kaitong.htm.เข้าถึงวันที่ 16 กันยายน 2563.

http://breeding.dld.go.th/biodiversity/new%20elearning/AnimalThai%20Chicken%20bantam.html เข้าถึงวันที่ 25/10/2562.

http://toytow.wordpress.comเข้าถึงเมื่อวันที่ 25/10/2562.

https://workpointnews.com/2018/03/19/แข่งขันเสียงร้องไก่แจ้/เข้าถึงวันที่ 25/10/2562.

https://www.springnews.co.th/thailand/south/326919 เข้าถึงวันที่ 25/10/2562.

https://www.banmuang.co.th/news/region/138205 เข้าถึงเมื่อวันที่ 25/10/2562.