ปัญหาการคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุในกฎหมายไทย : ศึกษากรณีหน่วยบริการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
คำสำคัญ:
การดูแลระยะยาว, การคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ, หน่วยบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาการคุ้มครองดูแลสุขภาพและการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่น
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัญหาการคุ้มครองดูแลสุขภาพและการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการการจัดสวัสดิการและการคุ้มครองด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุในระดับท้องถิ่น
ผลการศึกษาพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พบปัญหาในการคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ 4 ประการ ประการแรก คือ การจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของสังคมไทย ที่ยังมีข้อจำกัดและไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ ประการที่สอง คือ ปัญหาบทบาทการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่ยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ประการที่สาม คือ ปัญหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการศูนย์ในการดูแลผู้สูงอายุหรือหน่วยบริการอื่น และการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงซึ่งสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันในการรับบริการสาธารณะของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ และประการสุดท้าย คือ ปัญหาการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ยังคงขาดการประสานความร่วมมือในการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน
ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และสภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในระยะเวลาอันใกล้นี้
References
Ministry of Public Health, Office of the Permanent Secretary for Public Health. (2019). Guidelines on Public Health Operations at the Local Level between Local Administrative Organizations (Subdistrict Administrative Organizations, Municipalities) and the Ministry of Public Health (Sub-district Health Promoting Hospitals). Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, Strategy and Planning Division.
Sasipat Yodphet. (2009). Complete Report: Integrated Long-Term Care System for The Thai Elderly. Bangkok: Jayprint.
National Health Security Office (NHSO). (2020). National Health Security Fund Management Guide, Fiscal Year 2021. Bangkok: Sahamit Printing and Publishing.
Department of Mental Health. (2022). 93 Days to “Aging” Society in 5 Provinces? The Most-Least Elderly. Retrieved on 20 March 2022, from https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453.
Ministry of Social Development and Human Security. (2022). Rights and Welfare of the Elderly. Retrieved on 4 June 2022, from http:// www.thungkhanan.go.th /news/doc_ download/rights and welfare of the elderly_020721_104714.pdf
Regulations of the National Health Security Committee on Criteria, Methods and Conditions on Registration as Service Unit and Service Unit Network, B.E. 2558 (2015). (2015). Retrieved on 30 July 2022, from https://www.nhso.go..th/storage/photos /832afb96606e2 /pdf/Law.pdf
National Health Security Office (NHSO). (2022). Service Provider Report and local government organization participating in Long Term Care operation. Retrieved on 30 July 2022, from https://ltc.nhso.go.th/ ltc/#/public/ltc-report-pb.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น