การพัฒนาโทษปรับให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิด
คำสำคัญ:
โทษปรับ, การพัฒนาโทษปรับที่เหมาะสม, ผู้กระทำความผิดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษปรับและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษปรับ 2) เพื่อศึกษาโทษปรับตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการนำโทษปรับที่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดมาบังคับใช้กับประเทศไทย เพื่อให้การบังคับโทษปรับมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงโทษ
ผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่าการกำหนดโทษปรับตามกฎหมายของประเทศไทยยังมีปัญหาที่ไม่เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดอยู่ คือ (1) อัตราโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นอัตราค่าปรับแบบตายตัวไม่มีวิธีการการคำนวนหาอัตราค่าปรับที่แน่นอน ซึ่งอาจจะกำหนดไว้อัตราเดียวหรือกำหนดเฉพาะอัตราค่าปรับขั้นสูง หรือกำหนดเฉพาะอัตราค่าปรับขั้นต่ำหรือกำหนดทั้งอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงก็ได้ (2) อัตราโทษปรับต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดได้รับ ทำให้การลงโทษปรับไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ (3) การกำหนดอัตราค่าปรับตามบทลงโทษไม่ได้นำฐานะทางเศรษฐกิจมาพิจารณา ทำให้ความผิดฐานเดียวกันแต่ผู้กระทำความผิดมีฐานะต่างกันได้รับผลกระทบจากการลงโทษปรับที่ไม่เท่ากัน (4) การใช้มาตรการอื่นแทนค่าปรับยังไม่เหมาะสม ในกรณีผู้กระทำความผิดไม่สามารถชำระค่าปรับได้ แต่เพื่อให้เกิดสภาพบังคับในการลงโทษตามวัตถุประสงค์ของการลงโทษทางอาญาจึงต้องมีการนำมาตรการอื่นมาใช้บังคับ
ผู้วิจัยจึงขอนำเสนอแนวทางแก้ไขที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เห็นควรยกเลิกมาตรการกักขังแทนค่าปรับ ควรปรับปรุงและแก้ไขมาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ ควรปรับปรุงและแก้ไขมาตรการให้ทำงานบริการสังคม โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าจะไม่สามารถชำระค่าปรับได้ หรือต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ทำงานบริการสังคมโดยที่จำเลยไม่ต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องขอเอง และควรมีการใช้โทษปรับตามวันและรายได้ (day fine) มาใช้ในประเทศไทยด้วย
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. “คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป เล่ม 1.”กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562.
คณิต ณ นคร. “กฎหมายอาญาภาคทั่วไป.” กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560
ปกป้อง ศรีสนิท. “กฎหมายอาญาชั้นสูง.” กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2559.
อัคคกร ไชยพงษ์. “อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา.” กรุงเทพมหานคร, บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด, 2562.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. “อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา.” กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563
อุทัย อาทิเวช. “หลักและทฤษฎี : ความผิดอาญาและโทษ.” กรุงเทพมหานคร, ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2561.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
ประมวลกฎหมายอาญา.
กฤตยา อารีรักษ์. “ความเหมาะสมในการนำ day fine มาใช้กับประเทศไทย.” ดุษฎีนิพนธ์, สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2560.
กรกฎ ทองขะโชค. “การใช้มาตรการอื่นก่อนการลงโทษกักขังแทนค่าปรับ.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2547.
พิชยนต์ นิพาสพงษ์. “โทษปรับโดยกำหนดตามวันและรายได้ (Day Fine).” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
สมยศ วงษ์ดี. “การนำระบบโทษปรับโดยคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิดมาใช้กับกระบวนการยุติธรรมของไทย.” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.
สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม และ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “โครงการพัฒนามาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและมาตรการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา.” รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น