กลไกความสำเร็จของกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนกองขยะหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์ผู้ต้องขังยาเสพติดในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนติดอันดับโลก แนวทางการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังคดียาเสพติดล้นเรือนจำ และประสบความสำเร็จในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษากลไกความสำเร็จของกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยชุมชน กรณีศึกษา : ชุมชนกองขยะหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการผู้ป่วยยาเสพติดที่ได้รับการยอมรับในระดับกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) ศึกษากลไกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้กระบวนการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติดด้วยชุมชนประสบความสำเร็จ ผลการศึกษาพบว่า กลไกความสำเร็จ ได้แก่ การมีเจตจำนงค์ร่วมกันประกอบกับมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่ มีการคัดกรอง ประเมินวินิจฉัยผู้ป่วยยาเสพติด เพื่อส่งต่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง มีการประสานงานกับตำรวจ เจ้าหน้าที่สาธารสุข เพื่อช่วยเหลือตามสิทธิมนุษยชน มีการขับเคลื่อนงานยาเสพติดโดยการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับ ติดตาม ดูแล ให้คำปรึกษา ในด้านปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตัดสินใจด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลําดับชั้น ผลการเปรียบเทียบความสำคัญรายคู่ พบว่า ปัจจัยผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการบำบัด (ร้อยละ22) มีส่วนสำคัญสูงสุดในการทำให้กระบวนการบำบัดยาเสพติดด้วยชุมชนประสบความสำเร็จ อันดับ 2 ได้แก่ ปัจจัยบทบาทการสนับสนุนจากชุมชน (ร้อยละ20) อันดับ 3 ได้แก่ ปัจจัยกระบวนการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (ร้อยละ18) ตามลำดับ
References
กรมราชทัณฑ์.(2565). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์. http://www.correct.go.th/stathomepage/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566).
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. (7 พฤศจิกายน 2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนที่ 73 ก หน้า 11-79.
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธ์. (2559). การนำแนวทางศาลยาเสพติดมาปรับใช้ในประเทศไทย. กรุงเทพ : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2566).มูลนิธิคุณพุ่ม กับบ้านมั่นคงที่ชุมชนกองขยะหนองแขม. https://ref.codi.or.th/2015-08-03-14-52-58/8433-2013-06-16-14-25-39 (สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566).
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. (2557). คู่มือนโยบายยาเสพติด (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา.
Saaty, T.L.(1980). The Analytic Hierarchy Process. New York : McGraw-Hill.
United Nations on Drugs and Crime. (2016). Treating drug dependence through health care. www.unodc.org /docs/treatment /Coercion_Ebook.pdf.
UNODC and WHO. (2018). Treatment and care for people with drug use disorders in contact with the criminal justice system Alternatives to Conviction or Punishment. https://cdn.who.int/media/docs/default-source/substance-use/unodc-who-alternatives-to-conviction-or-punishment-2018.pdf?sfvrsn=430fc82d_2&download=true
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น