การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พื้นที่ตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ดร.เสาวนันท์ ขวัญแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และนำเสนอแนวทางการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 60 คน จาก 8 ชุมชน ประกอบด้วย เกษตรกร จำนวน 40 คน องค์กรภาคเอกชน จำนวน 5 คน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน โดยการสรุปข้อมูลจากบันทึกภาคสนามที่เป็นส่วนบันทึกละเอียดหรือบันทึกพรรณนา การวิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จำแนกหรือจัดกลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบแล้ว


ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรระดับสูง เนื่องจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ทำการเกษตรแบบหลากหลายและสัมบูรณ์ โดยเฉพาะเกษตรไม้ผลที่มีชื่อเสียงคือ ลองกอง ทุเรียน เงาะ และมังคุด นอกจากนั้นพบว่าตำบลควนศรีตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ประชากรร้อยละ96 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพระอริยะสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาคือ พ่อท่านคงแก้ว มีที่พัก ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพ รวมถึงการมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สามารถรองรับการภาคเกษตรได้ตลอดปี


ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การฝึกอบรมเกษตรกร การพัฒนากิจกรรมหรือบริการการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดการแหล่งทุน และขั้นปฏิบัติการ โดยการจัดทำบัญชีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร การอำนวยความสะดวก การรักษาความปลอดภัย การสร้างตลาด และการประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ความหมายของการท่องเที่ยว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564. สามารถเข้าถึงได้จาก https://www.tat.or.th/th

ขวัญชนก พุทธจันทร์. (2563). การศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนบ้านคลองอาราง ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2564. หน้า 143 – 154.

จีรนันท์ เขิมขันธ์. (2561). มุมมองของการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (2018): พฤษภาคม-สิงหาคม. หน้า 162 – 167.

จีรนันท์ เขิมขันธ์ และปัญญา หมั่นเก็บ. (2551). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการทำสวนผลไม้อย่างเดียวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดระยอง. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2560): หน้า 67 – 78

เชาวนภา เพชรรัตน์, พรรธชาดา โพธิ์เชิด และเบญจพร เขื่อนสุวงศ์. (2562). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรของครัวเรือน ในชนบท: บทเรียนจากข้อมูล Townsend Thai Data. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2564. สามารถเข้าถึงได้จาก https://dric.nrct.go.th/Search /SearchDetail/305291

พะยอม ธรรมบุตร. (2549). แนวทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2021): มกราคม - มีนาคม 2564. หน้า 187 – 199.

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2557). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ ฉบับที่ 1 (2560). หน้า 540 – 544.