ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและธรรมาภิบาล ต่อผลตอบแทนของผู้มีส่วนได้เสีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและธรรมาภิบาลต่อผลตอบแทนของผู้มีส่วนได้เสีย ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยแบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกไป 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บริษัท ซึ่งวัดผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ในอนาคต และมูลค่าตลาด (Tobin’s Q) ในอนาคต 2) พนักงาน ซึ่งวัดผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนพนักงาน (Compensation) ในอนาคต และ 3) ผู้ถือหุ้น ซึ่งวัดผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) ในอนาคต และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ในอนาคต ตัวแปรควบคุม คือ ขนาดกิจการ อายุการเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และอุตสาหกรรม ใช้ตัวอย่างจำนวน 1,188 ตัวอย่าง และทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมีแนวโน้มในการให้ผลตอบแทนที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นบริษัท พนักงาน และผู้ถือหุ้น ในส่วนของบริษัทพบว่า บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ในอนาคต จะมากกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่จะมีมูลค่าตลาด
(Tobin’s Q) ในอนาคตน้อยกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ในส่วนของพนักงานพบว่า บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉลี่ย มีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนพนักงาน (Compensation) ในอนาคตจะมากกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และในส่วนของผู้ถือหุ้น พบว่าบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉลี่ย มีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) ในอนาคต และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ในอนาคต จะมากกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น แม้ว่าการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนนั้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลตอบแทนที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งบริษัท พนักงาน และผู้ถือหุ้นในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดใดที่ปรากฏในวารสารวิทยาลัยบัณิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ซึ่งบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
References
กฤษณะ สุกพันธ์, อิสราภรณ์ ทนุผล และเนตรดาว ชัยเขต. (2559). รูปแบบค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในเขตภาคตะวันออก. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา,5(1), 1-14.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (ม.ป.ป.). 9 แนวทางทำ CSR in-process "ยิ่งทำ ธุรกิจยิ่งเติบโต" โดย รศ.ทองทิพภา. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.csrcom.com/news/view/413
พัธนิตย์ เหลืองภัทรเชวง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, สาขาการบัญชี ภาควิชาบัญชี, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์พร อังสกุลวงศ์. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดเห็นที่มีต่อระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบัญชีในองค์กร. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2556). ทางออกของธุรกิจไทยสู่หนทางแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจ, 36(137), 38-50.
สุกัญญา รักพานิชมณี, สัจจา ดวงชัยอยู่สุข และวศินี ธรรมศิริ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (หน้า 602-615). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เสกศักดิ์ จำเริญวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมกับผลกระทบที่มีต่อมูลค่าร่วมของกิจการ: กรณีประเทศไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 21(2), 150-175.
สันติ กีระนันทน์. (2560). วิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทตลาดทุน. (1). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สุชาดา ดีรอต, พลวัฒน์ เลิศกุลวัฒน์ และสุธาวัลย์ พฤกษ์อำไพ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 Research 4.0 Innovation and Development SSRU's 80th Anniversary" (หน้า 2718-2727).
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). การกำกับดูเเลกิจการ (Corporate Governance:CG). ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.cgthailand.org/TH/principles/CG/Pages/cg-concept.aspx#cg
Abatecola, G., Caputo, A., Mari, M., & Poggesi, S. (2012). Relations among Corporate Governance, Codes of Conduct and the Profitability of Public Utilities. Internation Journal of Management, 29(2), 611-626.
Black, B., Kim, W., & Jang, H. (2006). Does Corporate Governance Affect Firm Value? Evidence From Korea. Journal of Law, Economics and Organization, 22, 366-413.
Brown, L. D. & Caylor, M. L. (2004). Corporate Governance and Firm Performance. Retrieved 25 October 2020, from http://ssrn.com/abstract=586423
Buallay, A. (2019). Is sustainability reporting (ESG) associated with performance? Evidence from the European banking sector. Management of Environmental Quality: An International Journal., 30(1), 98-115.
Simpson, W. G., & Kohers, T. (2002). The Link Between Corporate Social and Financial Performance: Evidence from the Banking Industry. Journal of Business Ethics, 35(2), 97-109.
Svensson, E. (2020). ESG and Expected Returns : A study using alternative measures on European firms to review the relationship. Retrieved 27 October 2020, from http://urn.kb.se/resolve?urn=urn:nbn:se:oru:diva-82980
Jo, H., & Harjoto, M. A. (2012). The Causal Effect of Corporate Governance on Corporate Social Responsibility. Journal of Business Ethics, 106(1), 53-72.
Lewellen, W. G., & Badrinath, S. G. (1997). On the measurement of Tobin's q. Journal of financial economics, 44(1), 77-122.
Lintner, J. (1956). Distribution of Incomes of Corporations Among Dividends, Retained Earnings, and Taxes. The American Economic Review, 46(2), 97-113.
Waddock, S. A., & Graves, S. B. (1997). The Corporate Social Performance-Financial Performance Link. Strategic Management Journal, 18(4), 303-319.
Welch, K., & Yoon, A. (2020). Corporate Sustainability and Stock Returns: Evidence from Employee Satisfaction. Retrieved 27 October 2020, from https://ssrn.com/abstract=3616486