ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันสำหรับเพิ่มและพัฒนาทักษะของพนักงาน ในอุตสาหกรรมอาหารช่วงวิกฤต โควิด-19

Main Article Content

วรัญญา ติโลกะวิชัย
ระวิวรรณ พระประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันสำหรับเพิ่มและพัฒนาทักษะของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารช่วงวิกฤต โควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือพนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามต้องการที่จะเรียนเรื่องความปลอดภัยในอาหาร มาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีอาหาร ชอบที่จะดูคลิปวีดีโอเพื่อการเรียนรู้ผ่านช่องทางยูทูป ใช้เวลาประมาณ 15-60 นาที การเลื่อนตำแหน่งงานเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้เรียนรู้ ปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยีพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมากประกอบด้วยด้านความคาดหวังในประโยชน์ที่ได้รับ ความพยายามในการใช้ อิทธิพลจากสังคม การอำนวยความสะดวกหรือเงื่อนไขในการใช้งาน แรงจูงใจในการชอบเทคโนโลยี ความคุ้มค่า และความเคยชิน จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยด้านความคาดหวังในประโยชน์ที่ได้รับและด้านความพยายามในการใช้ ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันสำหรับเพิ่มและพัฒนาทักษะของพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารช่วงวิกฤต โควิด-19 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณเป็นดังนี้ ความตั้งใจในการใช้แอปพลิเคชัน =1.16 + 0.31(ความคาดหวังในประโยชน์ที่ได้รับ) + 0.17(ความพยายามในการใช้)

Article Details

How to Cite
ติโลกะวิชัย ว., & พระประเสริฐ ร. (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันสำหรับเพิ่มและพัฒนาทักษะของพนักงาน ในอุตสาหกรรมอาหารช่วงวิกฤต โควิด-19. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 13–40. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/249986
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ปิ่นแก้ว. (2561). การหาความต้องการในการฝึกอบรม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กุลิสรา อนันต์นับ และวรัญญา ติโลกะวิชัย. (2563). พฤติกรรมของคนทำงานต่อการใช้แอปพลิเคชันสำหรับลดความเสี่ยงจากออฟฟิศซินโดรม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ.,13(2), 47-69.

จันทิรา แซ่เตียว. (2559). พฤติกรรมการเลือกใช้แอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนสำหรับวัยกลางคน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณภัทรา เกียรติพงษ์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันเรียกรถยนต์โดยสารของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐวรา จันทร์เอี่ยม และคณะ. (2562). ประสิทธิผลและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนเสมือนจริงในการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.,11(2), 45-56.

พิมพ์ชนก วงษ์เจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้กรณีศึกษาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์พรรณ สุวรรณศิริศิลป์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับและใช้งานบริการแบบพร้อมเพย์. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802037084_6823_5606.pdf.

ภิญญาพัชญ์ ทาสาธนัตย์ตระกูล. (2559). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นชุดการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กบนโทรศัพท์เคลื่อนที่.งานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

รัตติญา สิทธิศักดิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านเอสแอนด์พีของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตน์สินี ออมสินสมบูรณ์. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ประเภทการคมนาคมขนส่งทางบก. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาลัยนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ละออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรรณวิสา แย้มเกตุ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของพนักงานธนาคารสายลูกค้าบุคคลของธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง .การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วาสนา อินทะแสง. (2559). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจคลินิกเสริมความงามที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิณัณฐ นาไทย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเรียนปริญญาโท หลักสูตรการบริหารเทคโนโลยีรูปแบบออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิงหะฉวี และสุนันทา. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง.

สุทธิพงศ์ สุวรรณเดชากุล. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของช่างไฟฟ้าการประปาส่วนภูมิภาคเขต 5. สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.,11(2), 250-259.

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของกระทรวงอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก http://www.industry.go.th/psd/index.php/agency/ita/2016-04-21-06-59-22/938-2562-2/file.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/orthers/newengineofgrowth.pdf.

อรลดา แซ่โค้ว. (2558). เว็บแอปพลิเคชั่นการจัดการความรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร. (2560). แนวโน้มการจ้างงานในอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https:// http://fic.nfi.or.th/hot_issue_detail.php?smid=1605.

Akyazi, T., Goti, T., Oyarbide, A., Alberdi, E., & Bayon, F. (2020). A Guide for the Food Industry to Meet the Future Skills Requirements Emerging with Industry 4.0. Foods.,9(4), 492.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: HarperCollins.

McKinsey and Company. (2020a). Consumer sentiment and behavior continue to reflect the uncertainty of the COVID-19. Retrieved August 11, 2020, from https://www.mckinsey.com/business-functions/marketing-and-sales/our-insights/a-global-view-of-how-consumer-behavior-is-changing-amid-covid-19#.

McKinsey and Company. (2020b). To emerge stronger from the COVID-19 crisis, companies should start reskilling their workforces now. Retrieved August 11, 2020, from https://www.mckinsey.com/business-functions/organization/our-insights/to-emerge-stronger-from-the-covid-19-crisis-companies-should-start-reskilling-their-workforces-now.

Venkatesh, V., Thong, J. Y. L., & Xu, X. (2012). Consumer acceptance and use of information technology: Extending the Unified Theory of Acceptance and use of technology. MIS Quarterly.,36(1), 157-178.

Yamane, T. (1967). Statistic : An Introductory Analysis. (3rd ed.), John Weatherhill.