การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตสินค้าหัตถกรรมลาหู่ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ธนพร จนาพิระกนิฏฐ์
ทัตพงศ์ นามวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเสื้อลาหู่ และเสนอแนวทางการลดความสูญเปล่า  เก็บข้อมูลจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายชนเผ่าลาหู่ในอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากนั้นสัมภาษณ์กลุ่มย่อยร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางลดความสูญเปล่า และสนทนากลุ่มกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเพื่อหาแนวทางปรับปรุงกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับศักยภาพของกลุ่ม เครื่องมือวิเคราะห์ความสูญเปล่าใช้แผนผังสายธารคุณค่า และใช้การตั้งคำถาม 5 Whys เพื่อหาต้นตอสาเหตุปัญหา ตลอดจนใช้หลักการ ECRS เพื่อสร้างแนวทางการลดความสูญเปล่าก่อนจะนำไปทดลองใช้จริง ผลการวิจัยพบว่า มีความสูญเปล่าเกิดขึ้น 5 ประการ โดยความสูญเปล่าด้านการขนส่งที่มากเกินไป นับเป็นกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (NVA) ที่ก่อให้เกิดเวลาในกระบวนการผลิตมากที่สุดซึ่งเป็นผลมาจากผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะการตัดเย็บจึงต้องขนส่งชิ้นงานไปให้ช่างตัดเย็บขึ้นรูปเสื้อในอำเภอเมืองเชียงราย แนวทางการแก้ไขความสูญเปล่าทำโดยเพิ่มทักษะตัดเย็บให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชน กำหนดรูปแบบ และปักผ้าลายลาหู่ไว้ล่วงหน้า จัดพื้นที่ทำงาน และใช้การไหลชิ้นงานแบบ FIFO ส่งผลให้ขั้นตอนผลิตลดลง 2 ขั้นตอน และเวลาผลิตโดยรวมลดลงร้อยละ 49.71

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ และณัฐวุฒิ พลศรี. (2566). การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีนเพื่อลดระยะเวลากระบวนการผลิตกรณีศึกษาโรงงานผลิตเส้นขนมจีนหมัก. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 9(1), 21-28.

กนกวรรณ สุภักดี, อินทุอร หินผา, อาริญา กล่อกระโทก และณัฐวัฒน์ เหล่าโก้ก. (2562). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเทียนเวียนหัว กรณีศึกษา: ธุรกิจโรงหล่อเทียนมงคล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 12(2), 112-122.

คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2565). การลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทอผ้าไหมกาบบัว กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนบ้านปะอาว จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(1), 89-101.

จิรกาล กัลยาโพธิ์ และจิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตยางรองล้อรถยนต์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 28(1), 79-92.

ชิตษณุ ภักดีวานิช และศุภชัย วีระเดช. (2564). การเพิ่มอัตราการทำงานของเครื่องจักรปั๊มโลหะแผ่นด้วยหลักการ ECRS. PBRU Science Journal, 18(2), 86-97.

ธรรศ วัฒนวงศ์วิสุทธิ์, ชาญชัย ทองโสภา และพรศิริ จงกล. (2564). การเพิ่มผลิตภาพในการทำงานบรรจุข้าว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(3), 164-174.

นฤดล พรหมสุทธิ์, วิชญุตร์ งามสะอาด และปิยะเนตร นาคสีดี. (2565). การลดต้นทุนผลิตและการลดระยะเวลาการผลิต ผลิตภัณฑ์ผัดไทยพร้อมปรุงกรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารนิศานาฏ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(3), 163-173.

นิวัฒน์ เดชอำไพ และกาญจนา เศรษฐนันท์. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชุดชั้นในสตรีโดยประยุกต์ใช้ แนวคิดการผลิตแบบลีน. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 13-27.

มาโนช ริทินโย, นิคม ลนขุนทด, อรุณ อุ่นไธสง และวิทยา อินทร์สอน. (2561). การพัฒนาเครื่องค้นหูกเส้นไหมด้วยเทคนิค ECRS. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 10(2), 52-61.

วรพจน์ ศิริรักษ์, นิวัติชัย ใจคำ, อมรรัตน ปิ่นชัยมูล, ธวัชชัย คล่องดี และศริญญา ศิริแสน. (2565). การใช้เทคนิค ECRS เพื่อปรับปรุงกระบวนการบรรจุน้ำผึ้ง. วารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ, 1(2), 1-10.

วิชญา จันทนา และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2563). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเซรามิค: กรณีศึกษาโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 37(2), 58-83.

สุวรรณี พรสกุลไพศาล. (2566). (3 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์. ประธานวิสาหกิจชุมชน I am Lahu. อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย.

สุวิมล เทียกทุม, หทัยนุช จันทร์ชัยภูมิ และธรรม์ณชาติ วันแต่ง. (2565). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตกล้วยอบไส้มะขามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 8(2), 78-85.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). โครงการการพัฒนาระบบสถิติข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.at/bBYZ5

อรดี พฤติศรัณยนนท์. (2560). การวิเคราะห์การดำเนินงานแบบลีนเพื่อให้เกิดการดำเนินงานแบบลีนที่ยั่งยืน. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 3(1), 45-55.

Bertagnolli, F. (2022). Lean management: Introduction and in-depth study of Japanese management philosophy. Pforzheim: Springer Fachmedien Wiesbaden.

Burawat, P. (2019). Productivity improvement of carton manufacturing industry by implementation of lean six sigma, ECRS, work study, and 5S: A case study of ABC co., ltd. Journal of Environmental Treatment Techniques, 7(4), 785-793.

Carreira, B. (2005). Lean manufacturing that works: Powerful tools for dramatically reducing waste and maximizing profits. New York: American Management Association.

Holt, P. (2019). The simplicity of lean: Defeating complexity, delivering excellence. Amsterdam: Royal Boom.

Mahadevan, B. (2015). Operations management, 3rd ed. [n.p.]: Pearson Education India.

Tarantino, A. (2022). Smart manufacturing: The lean six sigma way. New Jersey: Wiley.

Womack, J. P., & Jones, D. T. (2013). Lean thinking: Banish waste and create wealth in your corporation. London: Simon & Schuster UK.

Yuphin, P., & Ruanchoengchum, P. (2020). Reducing the Waste in the Manufacturing of Sprockets Using Smart Value Stream Mapping to Prepare for the 4.0 Industrial Era. Review of Integrative Business and Economics Research, 9(2), 158-173.