การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจรีโนเวทบ้านมือสองเพื่อการค้า ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ศิริพร ศรีอะภัย
อมรวรรณ รังกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจรีโนเวทบ้านมือสองเพื่อการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการมีบ้าน หรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ในการดำรงชีวิต บ้านมือสองถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก รวมถึงการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย ดังนั้นการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจรีโนเวทบ้านมือสองเพื่อการค้า ทำการวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด จากการแจกแบบสอบถามให้กับผู้บริโภค จำนวน 400 ชุด ร่วมกับการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทั่วไป วิเคราะห์การแข่งขัน และวิเคราะห์ SWOT พบว่า มีผู้สนใจซื้อบ้านมือสอง ร้อยละ 70.75 ส่วนปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด คือ ทำเลที่ตั้งใกล้ตัวเมือง และสิ่งอำนวยความสะดวก ราคาต่ำกว่าบ้านใหม่ มีการขายผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ทีมวิศวกรมีประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือด้านการรีโนเวท มีเงื่อนไขส่วนลด มีรับประกันงานซ่อม มีภาพรีวิวขั้นตอนการรีโนเวท จะช่วยให้สร้างยอดขาย และการรับรู้ให้กับผู้บริโภค สำหรับด้านเทคนิค เป็นการศึกษาข้อมูลแหล่งจำหน่ายบ้านมือสองในราคาที่ต่ำที่สุด พบว่า มี 3 แหล่ง ได้แก่ ซื้อกับเจ้าของบ้านโดยตรง ซื้อทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Asset หรือ ทรัพย์สินรอการขาย (NON-PERFORMING ASSET หรือ NPA)) จากธนาคาร และประมูลกับกรมบังคับคดี จะทำให้ได้บ้านมือสองในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด และหาบ้านมือสองเพื่อนำมาขายได้ตามเป้าหมาย สำหรับด้านการจัดการศึกษาการบริหารองค์กร พบว่า การวางแผนในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้บุคลากรสามารถดำเนินงานไปในทิศทางที่เหมาะสม รวมถึงการจัดองค์กร มีการวิเคราะห์งานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนบุคลากรที่ต้องการ และขั้นตอนการดำเนินงาน สามารถใช้ในการควบคุมองค์กรได้ ร่วมกับการกำหนดรูปแบบการรีโนเวทบ้านในสไตล์ที่บอกถึงตัวตนของธุรกิจ และด้านการเงิน ประเมินโดยวิเคราะห์หามูลค่าปัจจุบันสุทธิ พบว่า เงินลงทุนเริ่มต้น 10 ล้านบาท คืนทุน 4 ปี มูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 1,756,864 บาท ซึ่งเป็นค่าบวก หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนธุรกิจนี้ มากกว่าเงินลงทุน และอัตราผลตอบแทน 15.18% จึงทำให้มีความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจรีโนเวทบ้านมือสองเพื่อการค้า

Article Details

How to Cite
ศรีอะภัย ศ. ., & รังกูล อ. (2024). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจรีโนเวทบ้านมือสองเพื่อการค้า ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(2), 112–135. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/267497
บท
บทความวิจัย

References

เตชา จริตควร. (2560). แนวทางการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลบ้านมือสองของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. คลังปัญญามหาวิทยาลัยบูรพา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2562). บทความสาระดีๆจาก GH Bank. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ghbank.co.th/

ธีศิษฏ์ อธินันท์. (2562). การศึกษาปัญหา และการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (NPA : Non Performing Asset) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 ปีการศึกษา 2562. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิศานาถ รักศิลป์. (2561). ลักษณะประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองผู้บริโภค (4C’s) ที่สัมพันธ์ กับการตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชา ม6. 151 คณิตศาสตร์ทั่วไประดับมหาวิทยาลัย (ภาคเรียนที่ 1/2557). ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

วรโชติ ทรงสกุล. (2563). แผนธุรกิจ renovate บ้านมือสอง. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:184428.

วัชรินทร์ อนันต์หน่อ. (2554). การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อบ้านมือหนึ่ง และบ้านมือสอง ในแขวงสายไหม กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 4(2), 180-189.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2565). สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองทั่วประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2565. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://reic.or.th/Activities/Press Release/161

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc. อ้างถึงใน ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 50-61.

DDproperty Editorial Team. (2021). รู้จักขอนแก่นแบบเจาะลึก. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ddpro perty.com/areainsider/ขอนแก่น/article/รู้จักขอนแก่นแบบเจาะลึ-12486