พฤติกรรมการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มนักศึกษาจีนที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย

Main Article Content

อังคาร คะชาวังศรี
จิโรจน์ บุรณศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบธุรกิจที่มีต่อการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ให้แก่กลุ่มนักศึกษาจีน เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6P's) ปัจจัยด้านบทวิจารณ์ออนไลน์ รวมถึงปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มนักศึกษาจีนที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณจากการสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างประเภทผู้ประกอบธุรกิจ และกลุ่มนักศึกษาชาวจีนที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกปัจจัยล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภค สำหรับปัจจัยด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านนโยบายและการเมือง อาจจะเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญรองลงมา และจากการศึกษากลุ่มนักศึกษาชาวจีน พบว่า ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย และปัจจัยด้านราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านบทวิจารณ์ออนไลน์ และปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มนักศึกษาจีนที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
คะชาวังศรี อ. ., & บุรณศิริ จ. . (2024). พฤติกรรมการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มนักศึกษาจีนที่เข้ามาเรียนในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(2), 166–193. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/268093
บท
บทความวิจัย

References

กันต์กนิษฐ์ วงศ์บวรลักษณ์, ธีทัต ตรีศิริโชติ และศรายุทธ โชชัยวรรัตน์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 134-150.

กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และกรองจันทน์ จันทรพาหา. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

จุฑาทิพย์ ทิพย์เหรียญ. (2559). พฤติกรรมการซื้อของฝากของนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไปรษณีย์ไทย. [ม.ป.ป.]. พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์" ควรรู้! วิธีรับมือร้านค้าจาก "จีน" ที่ไม่ได้สู้กันด้วย "ราคา". ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.postfamily.thailandpost.com/ecommerce-insigh ts/พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์-จีน/

พิรัชย์ชญา คล่องกำไร และจุมพฎ บริราช. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านเฟซบุ๊ก ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 132-149.

เพ็ญพิชชา มุ่งงาม. (2566). อุดมศึกษาไทยในวันที่มหาวิทยาลัยอยู่ในเงาทุนจีน. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จากhttps://www.the101.world/thai-higher-education-and- china-investment/.

ภาณิณี ภูเขา. (2565). แรงจูงใจ กลุ่มอ้างอิง และบทวิจารณ์ออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 126 – 142.

วิมลพรรณ อาภาเวท และวราพันธ์ มุ่งวิชา. (2549). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการโฆษณาแบบตอบกลับโดยตรง ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาลัยพณิชยการพระนคร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สมจิตร ล้วนจำเริญ. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักข่าวอิสรา. (2566). 10 ปี จีนอันดับหนึ่ง! ส่องสถิติ น.ศ.ต่างชาติในไทยปี 55-65 เมียนมาครองเบอร์สอง. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/115794-isranews-09.html.

สิริชัย ดีเลิศ และกุลยา แก้ววิไล. (2562). อิทธิพลของบทวิจารณ์ออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. Humanities, Social Sciences and arts, 12(1), 351 – 370.

Bleier, A., De Keyser, A. & Verleye, K. (2018). Customer Engagement Marketing: Customer Engagement Through Personalization and Customization. [n.p.]: Palgrave Macmillan.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Engel, J. F., Blackwell, R. D. & Miniard, P. W. (1986). Consumer behavior. 5th ed. Hinsdale, IL: Eryden.

Guo, Wang, & Wu, (2020). Positive emotion bias: Role of emotional content from online customer reviews in purchase decision. Journal of Retailing and Consumer Services, 52, 1-11.

Hauser, P. M., & Duncan, O. D. (1959). The Study of Population: An Inventory and Appraisal. Chicago: The University of Chicago Press.

Kotler. (1984). Marketing Management. Millenium Edition: Custom Edition for University of Phoenix.

Liqin, H. (2018). Recommendation, Customer Satisfaction, Online Shopping Experience, Trust, and Word-of-mouth Affecting Consumer Online Shopping Decision in China. Master of Business Administration. The Graduate School, Bangkok University.

McQuail, D. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction. 2nd ed. London: Sage Publication.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.

Park, D.H., Lee, J. & Han, I. (2007). The effect of on-line consumer reviews on consumer purchasing intention: The moderating role of involvement. International Journal of Electronic Commerce, 11(4), 125-148.

Schiffman, L. G. & Wisenblit, J. L. (1994). Consumer behavior. Prentice-Hall: Englewood Cliffs.

Subramanian, N., Gunasekaran, A., YU, J., Cheng, J. & Ning, K. (2014). Customer satisfaction and competitiveness in the Chinese E-retailing: Structural equation modeling (SEM) approach to identify the role of quality factors. Expert Systems with Applications, 41(1), 69-80.

Yang, X. (2017). Influential factor of Chinese College student online shopping behavior in Guangxi, China. Master of Business Administration. The Graduate School, Siam University.

Ye, Q., Law, R., & Gu, B. (2009). The impact of online user reviews on hotel room sales. International Journal of Hospitality Management, 28(1), 180-182.

Yudelson, J. (1999). Adapting McCarthy's Four P's for the Twenty-First Century. Journal of Marketing Education, 21, 60-67.