ISSN: 2774-132X (Online)
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความภาษาไทย
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการจัดทำต้นฉบับ
1. ผู้เขียนระบุประเภทของบทความให้ชัดเจน ดังต่อไปนี้ บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือ ผลงานสร้างสรรค์ โดยบทความที่ส่งเข้าพิจารณาต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์อื่น
2. บทความต้นฉบับสามารถจัดเตรียมได้ทั้งภาษาไทยหรือ ภาษาอังกฤษ โดยจัดเตรียมในรูปแบบ MS Word (บันทึกเป็น .doc หรือ .docx) และ PDF โดยต้องนำส่งทั้ง 2 แบบ
3. บทความ รวมภาพประกอบ ตัวอย่าง เอกสารอ้างอิง และอื่น ๆ จัดเรียงบนหน้ากระดาษ A4 มีความยาวประมาณ 15 – 20 หน้า ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 pt โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและด้านซ้ายมือ 3.5 เซนติเมตร ด้านล่างและด้านขวามือ 2.5 เซนติเมตร โดยบทความควรมีส่วนประกอบ ดังนี้
3.1 ชื่อเรื่อง (Title) ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 18 pt (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา บทความภาษาอังกฤษไม่ต้องระบุชื่อเรื่องภาษาไทย
3.2 ชื่อผู้เขียน (Author) ระบุทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ) ขนาดตัวอักษร 14 pt พิมพ์ห่างจากชื่อบทความ 2 บรรทัด จัดชิดขวา หากมีผู้เขียนร่วมต้องระบุข้อมูลให้ครบถ้วน ที่อยู่ (email) ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และสังกัดของผู้เขียนและผู้เขียนร่วมให้ระบุเป็นเชิงอรรถ (Footnote) ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีที่เป็นบทความวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ให้ระบุวุฒิการศึกษาและสถาบันการศึกษา
3.3 บทคัดย่อ (Abstract) ควรมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุรายละเอียดความสำคัญของการศึกษา วัตถุประสงค์การศึกษา ขั้นตอนการศึกษา/ระเบียบวิธีวิจัย ผลการศึกษาและข้อสรุป ความยาวของบทคัดย่อภาษาไทยควรอยู่ที่ 700 – 800 คำ และจัดโครงสร้างตามหัวข้อต่อไปนี้:
ที่มาและวัตถุประสงค์: ระบุเป้าหมายและจุดประสงค์ของการวิจัยอย่างชัดเจน
วิธีการศึกษา: อธิบายระเบียบวิธีที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย
ผลการศึกษา: สรุปผลลัพธ์และข้อค้นพบที่สำคัญ
สรุป: นำเสนอภาพรวมของแนวคิดหลักและประเด็นสำคัญของงานวิจัยโดยสังเขปบทคัดย่อ
3.4 บทคัดย่อแบบกราฟิก (Graphical Abstract) ในแบบรูปภาพ หรือแผนภาพ 1 รูปภาพ ที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของบทความ หรือผลลัพธ์ที่สำคัญของงาน รูปแบบของบทคัดย่อแบบกราฟิก มีดังนี้:
ขนาดของภาพ: จัดเตรียมภาพที่มีขนาดอย่างน้อย 1080 x 1350 พิกเซล (สูง x กว้าง) และความละเอียดขั้นต่ำ 150 dpi หากใช้ภาพขนาดใหญ่ขึ้น ควรรักษาสัดส่วนเดิม (เช่น 200 x 500)
ประเภทไฟล์: รูปแบบไฟล์ที่แนะนำ ได้แก่ TIFF, PNG และ JPEG
3.5 คำสำคัญ (Keywords) ควรอยู่ระหว่าง 3 – 5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใต้บทคัดย่อของภาษานั้น ๆ ควรเป็นคำที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล
3.6 เนื้อหา (Content) จัดพิมพ์ตัวอักษรปกติ ขนาด 16 pt โดยจัดพิมพ์แบบกระจายบรรทัด ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
3.7 เชิงอรรถ (Footnote) ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น เขียนในรูปแบบของ Chicago Manual of Style ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt
3.8 บรรณานุกรม (Reference) ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น เขียนในรูปแบบของ Chicago Manual of Style จัดพิมพ์ตัวอักษรปกติ ขนาด 16 pt โดยจัดพิมพ์แบบชิดซ้าย และบรรทัดต่อมาของรายการเดียวกันให้ย่อหน้า 1.25 เซนติเมตร
3.9 หมายเลขหน้า ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt ใส่ไว้ตำแหน่งด้านบนขวา ตั้งแต่ต้นจนจบบทความ
3.10 ชื่อและหมายเลขกำกับตาราง พร้อมทั้งข้อมูลในตาราง ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt (ตัวหนา) พิมพ์ไว้บนตารางจัดชิดซ้าย เช่น Table 1 ใต้ตารางระบุแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย (ถ้ามี) เช่น Source by
3.11 ชื่อภาพ แผนภูมิ โน้ตเพลง หรือรูปกราฟฟิก และหมายเลขกำกับ ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด สำหรับบทความด้านดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีชาติพันธ์ ให้ใส่วงเล็บภาษาไทยไว้หลังภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt (ตัวหนา) พิมพ์ไว้ใต้ภาพ แผนภูมิ โน้ตเพลง หรือรูปกราฟฟิก จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ พร้อมระบุแหล่งที่มา จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อ เช่น Example 1 หรือ Figure 1 ไฟล์รูปสกุล JPEG หรือ TIFF ขนาดไฟล์ไม่น้อยกว่า 500 KB ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi กรณีใส่ QR Code ขนาดของ QR Code 2.5 ซม.*2.5 ซม.
4. องค์ประกอบของบทความ
4.1 สำหรับบทความวิจัย ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
- ชื่อเรื่อง (Title), บทคัดย่อ (Abstract), คำสำคัญ (Keywords), บทนำ (Introduction), วัตถุประสงค์ (Research Objectives), วิธีการวิจัย (Research Methodology), ผลการวิจัย (Results), อภิปรายผลการวิจัย (Discussion), สรุป (Conclusion), บรรณานุกรม (Bibliography) โดยหัวข้อให้ใส่ภาษาอังกฤษในวงเล็บ
4.2 สำหรับบทความวิชาการ บทความสร้างสรรค์ ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
- ชื่อเรื่อง (Title), บทคัดย่อ (Abstract), คำสำคัญ (Keywords), บทนำ (Introduction), เนื้อหา (Body of Text), สรุป (Conclusion), บรรณานุกรม (Bibliography) โดยหัวข้อให้ใส่ภาษาอังกฤษในวงเล็บ
5. บทความที่ใช้ภาพประกอบ หรือ โน้ตเพลงที่มีการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด หากเกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี ทางกองบรรณาธิการไม่มีส่วนในความรับผิดชอบทางกฎหมาย
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ใช้ภาพประกอบ หรือ โน้ตเพลงที่มีการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการดำเนินการของอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด หากเกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี ทางกองบรรณาธิการไม่มีส่วนในความรับผิดชอบทางกฎหมาย
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ