ประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

จิราพร สามิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)   กับเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเป็นประจำและประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) จำนวน 719 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้     คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression)


                   จากศึกษาวิจัยพบว่า


  1. ระดับความคิดเห็นของพนักงานและประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 3.86) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบรรลุจุดมุ่งหมายและเกิดการประสานงานที่ดี (= 4.18) มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความประหยัดและความแน่นอน (= 3.96) ด้านเสริมนวัตกรรมในการควบคุม (= 3.85) และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านพัฒนาการแข่งขันสร้างแรงจูงใจ (= 3.76)

ระดับความคิดเห็นของพนักงานและประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.64) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านการติดตามประเมินผล (= 3.96) ด้านความเป็นอิสระในการทำงาน (= 3.74) ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม (= 3.67) ด้านการประสานงานกับหน่วยงานอื่น (= 3.61) ด้านการมีส่วนร่วม (= 3.15) และด้านวางแผนการทำงาน (= 2.72)


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม คือ ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ด้านวางแผนการทำงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย 0.257 และ 1.325 ค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.658 สามารถทำนายประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 65.80

  2. แนวทางของประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดทำแผนต่อการนำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 6 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ด้านวางแผนการทำงาน ด้านความเป็นอิสระในการทำงาน ด้านการติดตามประเมินผล ด้านพัฒนาการแข่งขันสร้างแรงจูงใจ ประสิทธิผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านการบรรลุจุดมุ่งหมายและเกิดการประสานงานที่ดี ด้านความประหยัดและความแน่นอน  และด้านเสริมนวัตกรรมในการควบคุม แล้วนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลต่าง ๆ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อไป

Article Details

บท
บทความ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์ กระจายอำนาจ และการบริหารงานท้องถิ่น. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตติ กิตติเลิศไพศาล. (2551). พฤษภาคม–สิงหาคม). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การ : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร,” วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : 6(2).

บวร มูลสมบัติ. (2556). ประสิทธิผลของการนำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2554 – 2556) ไปปฏิบัติ กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลหลักชัย อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มูฮัมหมัด โละซิ. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา. ยะลา : องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา.

วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), สถาบัน. (2541). จากวิกฤติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (กลุ่มที่ 4) ธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. การสัมมนาวิชาการ TDRI 11-12 ธันวาคม 2541 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จังหวัดชลบุรี : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สมโชค เงินดี. (2554). ประสิทธิผลของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2552 -2554) ของเทศบาลในเขตอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร.