รูปแบบการจัดการความรู้ ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา: โครงการพัฒนาเครือข่ายสุขภาวะชุมชนสู่ตำบลน่าอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ศุทธา แพรสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นตำบลต้นแบบสุขภาวะชุมชน จำนวน 8 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ นายก/ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ นักจัดกระบวนการและวิทยากรแหล่งเรียนรู้ จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ ที่ใช้สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการ สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใช้แบบสอบถาม สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ต่อการเป็นตำบลต้นแบบสุขภาวะ ใช้สถิติทดสอบวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


ผลการศึกษาการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืน พบว่า มี 3 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบด้านกระบวนการและขั้นตอนในการจัดการความรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาความรู้  2) การสร้างความรู้ 3) การจัดเก็บความรู้ (การค้นคืน) 4) การถ่ายทอดความรู้ และ 5) การใช้ประโยชน์จากความรู้  2. องค์ประกอบด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้  มี 6 ด้าน คือ 1) ด้านผู้นำ 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจและต้นแบบ 3) ด้านกระบวนการและวิธีการ 4) ด้านการฝึกอบรมและการเรียนรู้ 5) ด้านการถ่ายทอดความรู้ และ 6) ด้านการสร้างกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ และ3.องค์ประกอบด้านหลักคิดในการจัดการความรู้ จะประกอบด้วย 4 หลัก คือ 1) ศักยภาพของพื้นที่หลักและทุนทางสังคม 2) หลักแนวคิดความสามารถในการจัดการตนเอง 3) หลักการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์  4) หลักความสัมพันธ์และการเชื่อมโยง


ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการความรู้ทั้งในระดับสมาชิกและระดับกลุ่ม พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสังคม มีความสัมพันธ์กับการจัดการความรู้ ทั้งนี้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ในตำบลต้นแบบสุขภาวะ 4 ด้าน มากที่สุดเท่ากับ 0.384   สำหรับปัจจัยด้านสังคมมีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ในตำบลต้นแบบสุขภาวะ 4 ด้าน ในลำดับรองลงมา  เท่ากับ 0.523 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติ 0.05


ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืน ค้นพบว่า มี 6 ปัจจัย 4 หลักการ คือ ปัจจัยด้านผู้นำ 4 ภาคส่วน ปัจจัยการสร้างแรงบันดาลใจและต้นแบบ ปัจจัยด้านกระบวนการและวิธีการ  ปัจจัยการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพ ปัจจัยการถ่ายทอดความรู้ และปัจจัยการสร้างกิจกรรมเพื่อสนับสนุน  4 หลักการ คือ หลักทุนทางสังคมและศักยภาพของพื้นที่ หลักแนวคิดการจัดการตนเอง หลักการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และหลักความสัมพันธ์และเชื่อมโยงเครือข่าย ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการความรู้ สามารถกำหนดรูปแบบการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะสู่ความยั่งยืนของจังหวัดภาคเหนือตอนบน คือ LIPTTA_4C  To Knowledge Management Sustainable 


นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาในการจัดการความรู้ของตำบลต้นแบบสุขภาวะ มี 4 ปัญหา คือ      1) ความไม่เข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้ 2) ผู้นำไม่ให้ความสำคัญในการจัดการความรู้ 3) การไม่มีกระบวนการค้นหาความรู้และภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม  และ 4) หน่วยงานสนับสนุนองค์ความรู้ไม่ตรงตามความต้องการของชุมชน 

Article Details

บท
บทความ

References

วิจารณ์ พานิช. (2545). การจัดการความรู้. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา.
กรุงเทพมหานคร.

ธีระพล อรุณะกสิกร. 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Nonaka, I. & Takeuchi, H. ( 1995 ). The Knowledge - Creating Company : How Japanese
Companies Create the Dynamics of Innovation. Oxford : Oxford University Press