พหุวัฒนธรรมทางการถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จันจิรา วิชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาพหุวัฒนธรรมทางการถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถอดความมาจากการวิจัย   “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในกระแสสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. รวบรวมการถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 2. ศึกษาการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมการถนอมอาหารภายใต้กระแสสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน  และ3. ศึกษาการคงอยู่ของการถนอมอาหารภายใต้กระแสสังคมพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ประชากรของการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ ไทยยวน  ไทยลื้อ  ไทยใหญ่  ไทยเขิน  ไตหย่า  ลั๊วะ  ดาราอ้าง  ลาหู่  อาข่า  จีนยูนนาน ผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในพื้นที่ที่  กลุ่มชาติพันธุ์อาศัย  และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในเขตพื้นที่การบริหารงานของ 6 เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ละ 2 คน รวมเป็น 20 คน  การสนทนากลุ่มผู้นำของกลุ่มชาติพันธุ์และตัวแทนของหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์  1 ครั้ง จำนวนผู้เข้าร่วม 12 คน การศึกษาภาคสนามทุกกลุ่มชาติพันธุ์  และการค้นคว้าจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)


                ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ 1. การถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน พบว่า มีการถนอมอาหารประกอบด้วยการหมักดองผัก ผลไม้ ปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ และการทำให้แห้งโดยอาศัยแสงอาทิตย์และความร้อนจากไฟ 2. การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมการถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 10 กลุ่ม พบว่า  การถนอมอาหารนั้นมีลักษณะคล้ายกันจนไม่สามารถแยกได้ว่าการถนอมอาหารแต่ละอย่างเริ่มต้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ใด และการบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มี Stigma และ Discrimination ทั้งในด้านผู้ขายและผู้ซื้อ 3. การคงอยู่ของการถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 10 กลุ่ม  พบว่า  กรรมวิธีในการถนอมอาหารยังคงเดิม แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการถนอมอาหารนั้นเปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี  การแยกครอบครัวออกไปอยู่ต่างหมู่บ้าน ต่างอำเภอ หรือ ต่างจังหวัด ทำให้การถนอมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ของครอบครัวใหม่นั้นลดน้อยลง  และการเปลี่ยนเตาหุงต้มจากเตาฟืนเตาถ่าน ไปเป็นเตาแก๊ส เตาไฟฟ้า ทำให้การย่างข่าเหนือเตาฟืนเตาถ่านนั้นหายไป

Article Details

บท
บทความ

References

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2543).หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:
รามาการพิมพ์.

------------. (2545). สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา
ครอบครัวญวน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์เพ็ญ อมรเลิศวิทย์. (2543).การจัดองค์การทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.

จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต.(2551). วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 .
กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

พระราชปริยัติ (สายัญ อรินฺทโม) และพระสุธีธรรมานุวัตร. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธกระบวนทัศน์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยลื้อในล้านนา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 10(1) : 55-68.

บุหลัน พิทักษ์พล. (2538). การถนอมผลิตผลการเกษคร. ใน อาหารสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, เล่มที่ 19. กรุงเทพมหานคร : โครงการสารานุกรมไทยฯ.

ปนัดดา บุณยสาระนัย และหมี่ยุ้ม เชอมือ. (2547). อาข่าหลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2556). อาหารพื้นบ้านไทยทรงดำ บางระกำ พิษณุโลก : การวิเคราะห์ตามแนวหน้าที่นิยมและสังคมวิทยา. รายงานการวิจัย . กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2543). การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตไทย. ใน การสัมมนาเรื่อง ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตไทย. วันที่ 12 กันยายน 2543 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)).

ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
------------. (2551). บรรณาธิการ “คนพลัดถิ่น แรงงานอพยพกับการก้าวข้ามพรมแดนรัฐชาติ”
ใน อำนาจ พื้นที่และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย
เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน).

วรา ชาภูคำ. (2556). อัตลักษณ์ไทยพวน : กรณีศึกษาไทยพวน ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2544). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2542). การธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมอญ : กรณีศึกษาชุมชนมอญ
บ้านม่วงตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสังคมวิทยา
และมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Qadeer, Mohammad A. (2014). Viewpoint : The Multicultural City. Canadian Journal of
Unban Research. Vol.23, issue 1, p116-126. 11p.

Victor C. de Munck. (2013). A Theory Explaining the Functional Linkage Between the
Self, Identity and Cultural Models. Journal of Cognition and Culture. Vol.13,
Issue 1, p179-200. 22p.