การสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจอัตลักษณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบทชุมชนตำบลนางแล ศึกษารูปแบบกิจกรรมการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ของชุมชน และแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์สู่สังคมในการธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จากประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนางแลใน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แบบสำรวจอัตลักษณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบทชุมชน 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการศึกษารูปแบบกิจกรรมการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ของชุมชน 3. แบบสอบถามแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์สู่สังคมในการธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ชุมชน เก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลจากค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อภิปรายผลจากการวิเคราะห์แยกประเภทข้อมูล (Typological Analysis) และใช้การพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Induction) การวิจัยสรุปได้ดังนี้
- 1. บริบทอัตลักษณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงบริบทชุมชนที่ปรากฎเด่นชัดประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม 2) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) ด้านประเพณีและวัฒนธรรม
- 2. การศึกษารูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างนำเสนอรูปแบบในการส่งเสริมอัตลักษณ์ จำนวน 9 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. รูปแบบการประชุม เวทีชุมชน อบรม และพูดคุยแลกเปลี่ยน รูปแบบพิธีการทางศาสนา และกิจกรรมที่วัด 3. รูปแบบกิจกรรมตามประเพณีนิยม เทศกาล และประเพณีชนเผ่า ชาติพันธุ์ 4. รูปแบบการมีส่วนร่วม ปฏิบัติร่วมกัน โครงการเฉพาะ 5. รูปแบบการจัดตั้งสภา กลุ่มสนใจ หรือชมรมเยาวชน 6. รูปแบบพิธีกรรม 7. รูปแบบการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง และครอบครัว 8. รูปแบบแหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้าน และ 9. รูปแบบการมอบรางวัล ยกย่อง เชิดชูเกียรติ
- 3. การศึกษาแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์สู่สังคมในการธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ จากแบบสอบถามพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในแนวทาง จำนวน 10 แนวทาง โดยพบว่า แนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์ด้านการสื่อสารอัตลักษณ์สู่สังคมด้านการแสดงมีค่าเฉลี่ย () ความเห็นด้วยมากที่สุด คือ 77 และมีค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.43 และเห็นด้วยน้อยที่สุดในแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์สู่สังคมด้านกิจกรรม มีค่าเฉลี่ย () คือ 3.63 (S.D.) 0.61 ในด้านผลรวมของค่าเฉลี่ยทั้งหมด () คือ 4.15 (S.D.) 0.64 ในระดับเห็นด้วยมาก จากการวิจัยกลุ่มตัวอย่างได้เสนอให้มีการทำวิจัยต่อยอดในด้านการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการจัดกิจกรรมสู่ชุมชนที่เสริมสร้างอัตลักษณ์ให้กับกลุ่มเยาวชนต่อไป
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
กองทุนสนับสนุนการวิจัย, โครงการเมธีวิจัยอาวุโส.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2542). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็น “ไท”. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง
การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธ์ไท วันที่ 22-23 มีนาคม 2544 ณ ห้องช้างกระ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
ชะลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ.
ชโลมพร วรอนุวัฒนกุล. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการ
พัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เทศบาลตำบลนางแล. (2557). ข้อมูลสภาพทั่วไปเทศบาลตำบลนางแล. ออน์ไลน์. แหล่งที่มา
http://www.nanglae.go.th/index.php/2014-09-04-07-53-45. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2558.
นฤมล ขาวนวล. (2552). “การสร้างอัตลักษณ์ในมุมมองอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสัญญวิทยา”. สืบค้นเมื่อ
23 พฤษภาคม 2552, จาก http://my.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=380224.
นุชจรินทร์ ทับทิม. (2553). การสื่อสารอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรมถนนคนเดิน.
วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นัทธนัย ประสานนาม. (2550). เพศชาติพันธุ์และปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์ในภาพยนตร์เรื่อง Touch of Pink. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรชนก พงค์ทองมือง. (2555). การสร้างและการสื่อสารอัตลักษณ์ประเพณีบุญเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วิทยานิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณทิวา รุจิพร. (2536). จิตวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มงคล พนมมิตร. (2551). การดำรงอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอก
ระบบ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ครุสภา. กรุงเทพฯ.
เลิศสกุล มิตรไมตรี และสุทธิพงศ์ สายสงวน. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยด้านเนื้อหาของนิตยสารทางเลือกต่อการสร้างอัต
ลักษณ์ของวัยรุ่นศึกษาเฉพาะกรณีนิตยสารชีซ. ภาควิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบติดตามการ
บริหารงานตารวจนครบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์. (2546). อัตลักษณ์ของไทลื้อและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม:
กรณีศึกษาบ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการมนุษย์
กับสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2554). ผลกระทบจากการพัฒนาตามแนวทางระบบเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาดต่อการทำลาย
ระบบคุณค่าในสังคมไทย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
สาขาสังคมวิทยา. สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อิทธิพล ตั้งโฉลก.(2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. อมรินทร์พริ้นติ้ง. กรุงเทพฯ.
อัษนัย กางมูล. (2552). การฟื้นฟูอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาผ้าซิ่นตีนจกของชุมชน บ้านท้องลับแล ตำบลฝายหลวง อำเภอ
ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bourdieu, P. (1986). “The Forms of Capital”, in J. Richardson (ed.), Handbook of Theory and Research for the
Sociology of Education. New York: Polity Press.