ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้สมาชิกสตรีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้สมาชิกสตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมการส่งเสริมให้สมาชิกสตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รวมทั้งประเมินยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้สมาชิกสตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนประชากรในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทั่วประเทศ จำนวน 76 จังหวัด รวมจำนวน 2,359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสม ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้เทคนิค SWOT สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารจัดการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย มีโครงสร้างและภารกิจของสหกรณ์มีความชัดเจนเอื้อต่อการทำงานร่วมกัน บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านสหกรณ์ ด้านกฏหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกมีกำลังใจในการปฏิบัติงานและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมนุมสหกรณ์ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สมาชิกสตรีเครดิตยูเนี่ยนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมากที่สุด ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์มีการผลัดเปลี่ยนให้โอกาสสมาชิกสตรีรุ่นใหม่เข้าไปเป็นกรรมการบริหารงานสหกรณ์ รองลงมา ชุมชนสหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกสตรีมีส่วนร่วมในการออกคะแนนเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกฎหมายสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติอย่างเคร่งครัด โดยยุทธศาสตร์การส่งเสริมสมาชิกสตรีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ การสร้างเครือข่ายให้สมาชิกสตรีและระดมเงินออมทรัพย์ของสมาชิก การมีส่วนร่วมของสมาชิกสตรีในการบริหารจัดการเงินกู้และการลงทุนที่ทันสมัย การส่งเสริมสมาชิกสตรีในการจัดกิจกรรมและสวัสดิการแก่สมาชิก การส่งเสริมสมาชิกสตรีในการสร้างมาตรฐานสถาบันสู่สากล และการพัฒนาสมาชิกสตรีในการทรัพยากรมนุษย์โดยให้การศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้สมาชิกและยุวเครดิตยูเนี่ยน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จำกัด:กรณีศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.
เทคโนโลยีการเกษตร (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: แอล. ที. เพรส.
พัชราพร ทวยสงฆ์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคคลในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558, จาก
http://portal.in.th/inno-pat/pages/1147/..
สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2544). เศรษฐกิจพอเพียง : พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน(9). นนทบุรี: เพชรรุ่งการพิมพ์.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2554) คอร์รัปชันเชิงระบบ: นวัตกรรมที่ต้องควบคุม. ผลงานวิจัยประกอบการ. พิจารณาเพื่อ
แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง..
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2551). การบริหารเชิงกลยุทธ์ . กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)