พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จุฑามาศ เมืองมูล
พัชรา ก้อยชูสกุล
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม
วรัญญา มณีรัตน์
อารีย์ จอแย
สุพรรณ วนิชปริญญากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประชากรในการศึกษาได้แก่ ชาวอาข่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดอยช้าง ที่มีอายุระหว่าง 15 - 80 ปี เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและอุปกรณ์การตรวจสุขภาพเบื้องต้น ที่ใช้กับโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ จำนวน 200 คน ที่ได้จากโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะผู้ที่สามารถสื่อสารได้และยินยอมให้ความร่วมมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ แปลผลโดยการใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว แต่มีค่าความดันโลหิตค่าบนค่อนข้างสูง ในขณะที่ความดันโลหิตค่าล่าง อัตราการเต้นของหัวใจ ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วงปกติ อย่างไรก็ตามพบผู้ที่มีภาวะความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอันตรายที่ควรให้การดูแลอย่างเร่งด่วนจำนวนหนึ่ง ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ให้ข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานการป่วย ปีงบประมาณ 2555. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร.

กฤติน ชุมแก้ว. (2557). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยเกษตรศาสตร์ (สังคม) 35: 16-29.

กิตติพงษ์ พรมพลเมือง. ( 2557). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่อำเภอศรีบุญ เรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. Graduate research conference Khon Kaen University 2014: 1882-1888.

กลุ่มชาติพันธุ์ชาวอาข่า (อีก้อ). (2556). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560, จาก
http://www.cmdiocese.org/th/ethnic/akha/34-34

ชนเผ่าชาวดอย. (2554). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560, จาก http://akha.hilltribe.org/thai/

ดารากร สมฤทธิ์. (2549). ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของนักเรียนอาข่า. สืบค้นเมื่อ 16มีนาคม 2560, จาก http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/13815

เนตรนภา จุฑานันท์. (2557). การศึกษาการบริโภคขนมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์). Graduate research conference Khon Kaen University 2014: 1771-1780.

ประนอม ปิ่นทองและคณะ. (2557). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่ 4 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 1-17.

พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ และคณะ. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุม โรคไม่ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ พ.ศ. 2551-2555. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข

เพียงทิฆัมพร นิลเพชร์. (2555). แบบแผนการบริโภคอาหาร การทํากิจกรรมยามว่างและภาวะโภชนาการของนักเรียน วัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง). วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พฤศจิกายน: ฉบับพิเศษ. 1-10

แพร่พรรณ เหมวรรณ. (2547). รูปแบบการเปลี่ยนแปลง และความเหมาะสมของการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรของชุมชน บนพื้นที่สูง : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบ้านม้งแม่โถ และบ้านกะเหรี่ยงแม่โถหลวง ตำบลบ่อสลี อำเภอ ฮอด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สมินตรา ปรารถนา. (2553). ความเชื่อในการบริโภคอาหารของสตรีหลังคลอดในกลุ่มชาติพันธุ์เขมร สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2553, จาก http://mintrap2.blogspot.com/2010/05/blog-post.html

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2558). การกระจายรายได้และแนวทางการพัฒนาภาค และ ท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560, จาก www.nesdb.go.th/portals/0/news/plan/p4/m2_4.