ผลสำเร็จการบริหารงานองค์การตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ประชากรในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน โดยคำนวณจากสูตรของทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่า t-test และค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสำเร็จของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85
- ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนที่มีความคิดเห็นต่อผลสำเร็จของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี มีการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท
- ผลการเปรียบเทียบผลสำเร็จของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีโดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ พบว่าโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนควรมีการปฏิบัติงานโดยเน้นตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นหลัก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนควรใช้เวลาในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติ และควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเสมอพร้อมทั้งควรมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหาในทุกด้าน ๆ ต่อไป
Article Details
บท
บทความ
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
เบญจวรรณ วันดีศรี. (2546). การศึกษาความเป็นธรรมาภิบาลของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลใน จังหวัดร้อยเอ็ด . วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
รหัส แสงผ่อง. (2547). กระบวนการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลของกรรมการบริหาร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี : สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.
สิริวิภา ศรีปลั่ง . (2548). การศึกษาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ .วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2546). ศึกษาเรื่องการบริหารการจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านฉาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรชัย นาทองไชย. (2548). สภาพการบริหารงานของคณะเทศมนตรี ตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลธัญญา อำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกภพ กองศรีมา. (2550). การศึกษาความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล ศึกษากรณี : องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
รหัส แสงผ่อง. (2547). กระบวนการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาลของกรรมการบริหาร และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี : สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.
สิริวิภา ศรีปลั่ง . (2548). การศึกษาตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานของสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ .วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภัทรมาศ จริยเวชช์วัฒนา. (2546). ศึกษาเรื่องการบริหารการจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านฉาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรชัย นาทองไชย. (2548). สภาพการบริหารงานของคณะเทศมนตรี ตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลธัญญา อำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกภพ กองศรีมา. (2550). การศึกษาความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล ศึกษากรณี : องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.