การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

Main Article Content

มณี จำปาแพง
พิมพ์พรรณ เลิศเกษม
จิตตากรวี อัมพุธ
ปริศนา อุทธชาติ
บุญทิวา สิริชยานุกุล
บุษราคัม ยอดชะลูด
สุนิสา ฮาชิโมโต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาในหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน เพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน และ เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 5 ชุด ดังนี้ (1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อสำรวจความต้องการด้านเนื้อหา (2) หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน (3) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร (4) แบบทดสอบก่อนฝึกอบรมและแบบทดสอบหลังฝึกอบรม และ (5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชน ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในชุมชน นักท่องเที่ยวและผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่ติดต่อสื่อสารกับชาวจีนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย จำนวน 45 คน


                           ผลการวิจัยพบว่า (1) การสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาในหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน พบว่าผู้เข้าร่วมอภิปรายกลุ่มมีความต้องการด้านเนื้อหาเกี่ยวกับสมรรถนะสากลค่านิยมและการรับมือกับปัญหาที่เกิดจากความไม่เข้าใจกันระหว่างคนไทยกับคนจีน (2) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน มีองค์ประกอบในหลักสูตร ประกอบด้วย คำนำ ปรัชญาของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล (3) การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ (1) การประเมินความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะสากลก่อนและหลังการฝึกอบรมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม


(2) การประเมิน ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสมรรถนะสากลสำหรับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความ

References

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2542). การจัดการทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

วารุณี อัศวโภคิน (2554). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรสายสนับสนุน
วิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุมิตรา คุณานุกร. (2532). กระบวนการบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. ทฤษฎีและการวิจัยทางการนิเทศ
การศึกษาและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

อังคณา เรืองชัย.( 2555). หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่อง การทำน้ำสมุนไพรเพื่อเป็นอาชีพเสริมใน
ครอบครัว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Gardner H. (2008). Five Minds for the Future. Boston : Harvard Business Press.

Mahathir Mohammad. (1999). A New Deal for Asia. Selangor Darul Ehsan, Malaysia : Pelanduk Publications.

Mansilla, V. B. and Jackson A. (2011). Educating for Global Competence :Preparing Our Youth to Engage the
World. (Evan Ormerson, บ.ก.) New York : The Asia Society.