การวิเคราะห์ปริมาณการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หลังจากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz

Main Article Content

มนัสวี สมเพชร

บทคัดย่อ

     ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ขณะนี้โลกกำลังก้าวเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 ซึ่งจะเป็นการปฏิวัติวิถีชีวิตประจำวันของประชมคมโลก ในประเทศไทยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายกำลังทดสอบระบบ 4G LTE บนคลื่นความถี่ 3G เดิมที่มีอยู่ หากแต่ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กอปรกับสัมปทานคลื่น 1800 MHz ได้หมดอายุไปตั้งแต่ พ.ศ. 2556 ดังนั้นรัฐบาลต้องมีวางแผนในการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ความกว้างแถบความถี่ 25 MHz โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 12.5 MHz ในบทความนี้ได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้และโอกาสในการชนะการประมูลของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในประเทศไทย คือบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) โดยวิเคราะห์จากจำนวนผู้ใช้บริการ คลื่นที่ถือครอง และปริมาณเงินสด จากผลการวิเคราะห์พบว่ามีความเป็นไปได้ที่บริษัท AIS และ TRUE จะเป็นผู้ชนะการประมูลที่จะเกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความ

References

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2014). Thailand Table of Frequency Allocations. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2014. จาก http://www.nbtc.go.th.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2014). สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน ADVANC บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2014. จาก www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=ADVANC.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2014). สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน DTAC บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2014. จาก www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=DTAC.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2014). สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน TRUE บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2014. จาก www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=TRUE.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสําหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. (2555, 5 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 152 ง. หน้า 20-22.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2014). ใกล้100ล้าน "กสทช."เผยคนใช้มือถือในไทยทะลุ 93.7 ล้านเลขหมาย เป็น "3G-4G" ถึง 42.9 ล้าน. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2014. จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394509435.

ประวิทย์ ชุมชู. (2014). โทรศัพท์เคลื่อนที่ ...... กว่าจะมาถึง 3G/4G. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2014.
จาก www.mut.ac.th/uploaded/%20......%20กว่าจะมาถึง%203G4G.pdf

ไพโรจน์ ไววานิชกิจ. (2012). 3.5G สู่ 4G จากเทคโนโลยีสู่โลกธุรกิจ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2014). โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2014.
จาก th.wikipedia.org/wiki/โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2012). รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 37/2555. กรุงเทพมหานคร.
________. (2014). รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 2/2557. กรุงเทพมหานคร.
________. (2014). รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ครั้งที่ 9/2557. กรุงเทพมหานคร.

Alastair Brydon. (2014). Summary of 3GPP Standards Releases for LTE. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2014.
จากhttp://www.unwiredinsight.com/2012/3gpp-lte-releases.

Dharma PA, Qing-An Z. (2003). Introduction to Wireless and Mobile Systems. California : Thomson.

Motorola. (2007). TECHNICAL WHITE PAPER: Long Term Evolution (LTE): A Technical Overview. Motorola, Inc.