การพัฒนากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน ในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พรเพ็ญ แก้วหาญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย และเพื่อตรวจสอบกระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย


     การวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มอาชีพ และปราชญ์ชาวบ้าน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากชุมชนที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีในกระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย จำนวน 3 ชุมชน โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง(Purposive Selection) ชุมชนละ 8-10 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปโดยการจำแนกประเภทข้อมูล (Topological Analysis) และนำผลการศึกษามาพัฒนากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงรายโดยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน ในการตรวจสอบกระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


     ผลการวิจัยพบว่า การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการศึกษากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย พบว่าชุมชนทั้ง 3 ชุมชน มีกระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยเริ่มจากการริเริ่มของกลุ่มจากการค้นหาปัญหาของชุมชน ค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อการรวมกลุ่มสร้างอาชีพและรายได้ มีการดำเนินการของกลุ่มโดยจัดตั้งกลุ่มอาชีพที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน กำหนดโครงสร้างของกลุ่ม วางแผนการดำเนินการร่วมกันและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ มีการบริหารจัดการกลุ่มโดยการรวมสมาชิกกลุ่ม ระดมทุนทรัพย์ในการผลิต จัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้และการจัดการการผลิต การจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่าย มีการจัดสรรผลประโยชน์ ตามข้อตกลงของสมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน และมีการติดตามประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการพัฒนากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย พบว่า กระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงรายมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การริเริ่มของกลุ่ม 2) การดำเนินการของกลุ่ม 3)การบริหารจัดการกลุ่ม 4)การจัดสรรผลประโยชน์ 5)การสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของกลุ่ม 6)การติดตามประเมินผล ส่วนการตรวจสอบกระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ทุกขั้นตอนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความ

References

เจริญ ภักดีวานิช. (2546). งานวิชาการเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงคุณ จันทจร. (2555). การศึกษาและการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม:
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์.กรุงเทพมหานคร:
สถาบันพระปกเกล้า.

นุกูล บำรุงไทย และคณะ. (2543). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเองของจังหวัดตาก. (งานวิจัยทุนสนับสนุน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีพ.ศ. 2543). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

บุญฑริกา จันทร์งาม. (2552). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กรณีศึกษาชุมชนบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรทัย จารุทวัย. (2545). การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองศึกษากรณีชุมชน
ประชุมราษฎร์พัฒนา ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี. สารนิพนธ์หลักสูตรพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ภูมิปัญญาไทยในการดำเนินชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: สกศ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ( 2548). การปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติฉบับที่9 พ.ศ.2545-2549. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2556). กลุ่มอาชีพจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สำนักงานฯ.

อรทิพย์ เรืองกุล. (2547). กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลป
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เอกสิทธิ์ มหาบุญเป็ง. (2544). เศรษฐกิจชุมชน: กระแสหลุดในสายตาทุนนิยม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Yamane,Taro. (1973). Statistic: An introduction analysis.(3rd ed). New York: Harper and Row.